Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1005
Title: The Development of Guidelines for Student-Centered Learning Management in Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area
การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Authors: Supitchaya Phandet
สุพิชญา พันธ์เดช
Prasert Ruannakarn
ประเสริฐ เรือนนะการ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาแนวทาง
การจัดการเรียนรู้
ผู้เรียนเป็นสำคัญ
The Development of Guidelines
Learning Management
Student-Centered
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The Development of Guidelines for Student-Centered Learning Management in Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area” research focused on 1) to study the current conditions the Student-Centered Learning Management in Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area 2) Development of Guidelines for Student-Centered Learning Management in Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area by using Research and Development methods devised in 2 phases. The first phase was to study the current conditions and desirable conditions for Student-Centered Learning Management. The samples were 329 primary school teachers determined by using Krejcie and Morgan’s sample size calculation formula. This phase’s instruments were approved by 5 specialists. The second phase was to develop the development guideline for Student-Centered Learning Management by studying 2 best. The evaluation by 5 experts selected through the purposive sampling, the instruments were evaluation form on appropriateness and possibility. The statistics for analyses the data included the Index of consistency: IOC, mean, percentage, standard deviation, Pearson correlation coefficient, Cronbach's alpha coefficient, And the priority need of index PNImodified. The results of research revealed the following: 1. To study the current conditions the Student-Centered Learning Management in Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area consist of 4 elements such as 1) curriculum analysis, 2) measurement and evaluation, 3) using a variety of teaching styles and techniques for learners. 4) Use of technology media Learning sources and local knowledge in the community in learning management, respectively. 2. Development of Guidelines for Student-Centered Learning Management in Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area By associating elements Indicators of information from paper studies theoretical concept questionnaire and from school education with practice excellence to design a management approach focused learning learners a water main through. Check and suggestions from the experts who are 4 and 27 indications by experts 5 people found a way to sort of learning the learner's water problems for schools. Under the office Education area Elementary school Bueng Kan Is suitable And the possibility is at a high level.
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2) พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างได้แก่  ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 329 คน โดยการคำนวณจากสูตรของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยการศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม จำนวน 2 แห่ง โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประเมินแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ด้าน ลำดับความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การสร้างละพัฒนาหลักสูตร 2) การวัดและประเมินผล 3) การใช้รูปแบบและเทคนิคการสอน 5) การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ 2. พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยการเชื่อมโยงองค์ประกอบ ตัวชี้วัดของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี แบบสอบถาม และจากการศึกษาโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อใช้ ออกแบบแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผ่านการตรวจสอบ และเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมี 4 ด้าน 27 ตัวชี้วัด โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน พบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1005
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58030580021.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.