Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1008
Title: The Construction of a Media Literacy Test for Student Grade 11 in Secondary School at the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
การสร้างแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Authors: Sirikan Thepsorn
สิริกานต์ เทพสอน
Waraporn Erawan
วราพร เอราวรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การสร้างแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อ
เกณฑ์ปกติ
Media literacy test
Norms
Issue Date:  5
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to 1) to build  and find quality  a media   literacy test for student grade 11 in secondary school at the secondary educational service area office sakon Nakhon And 2) to build norms of a media   literacy test for student grade 11 in secondary school at the secondary educational service area office sakon Nakhon The sample of this research consisted of 376  grade 11 students of 13 schools under The secondary school at the secondary educational service area office sakon Nakhon. Acquired by using the G*Power analysis program and Multi-stage Sampling The results finding were follows ; 1.The construction of a media   literacy test for student grade 11 in secondary school at the secondary educational service area office sakon Nakhon  There are 5  components  and 30 Indicator of Create skill, Analyze skill, Evaluate skill,Participate skill,and Access skill. They feature questions Current situation media literacy test, with having 3 options and a score of 0,1, 2, a total of  30 items The qualitative of media   literacy test for student grade 11 in secondary school at the secondary educational service area office sakon Nakhon  content validity was in the Discriminative power of 30-item test was from 0.619 to 0.852. The reliability of media literacy test  was 0.979. Construct validity by Confirmatory Factor Analysis : CFA  Of The chi–square value of  97.46The factor loading is the weight of high is Access skill,  Analyze skill 0.991, Evaluate skill 0.938 , Participate skill 0.938 and The weight of  low  is  of Create skill 2. Norms score by Normalized T-Score. It was found that thenormal values, ranging from T 20  to T63 showed that 376 students were able to a media literacy skill the high barriers of 100 and 26.59%  , moderate 174 and 46.28%, and low level 100 and 27.12%.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1.เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 2.เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสกลนคร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ซึ่งกลุ่มตัวย่างได้มาโดยการกำหนดขนาดจากการคำนวณโดยการใช้โปรแกรม G*Power  และการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำนวน 376 คน ผลวิจัยพบว่า 1. แบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ประกอบด้วย 5 ด้าน  30 ตัวบ่งชี้  คือทักษะการสร้างสรรค์ (Create skill)  ทักษะการวิเคราะห์ (Analyze skill) ทักษะการประเมินเนื้อหาสาร (Evaluate skill) และทักษะการมีส่วนร่วม (Participate skill) และ ทักษะในการเข้าถึง (Access skill)  ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ 3 ตัวเลือก และมีการให้คะแนนเป็น 0,1 และ 2 คะแนน  จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.619  ถึง 0.852 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979 และมีความตรงเชิงโครงสร้างโดยพิจารณาจากค่าไคส-แควร์  97.46  โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดได้แก่ทักษะการเข้าถึง 0.997 รองลงมาคือ ทักษะการวิเคราะห์ 0.991 ทักษะการประเมินเนื้อหาสาร 0.938 ทักษะการมีส่วนร่วม 0.983 และน้อยที่สุดคือทักษะการสร้างสรรค์ 0.900 2.เกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร มีเกณฑ์ปกติในคะแนนทีปกติตั้งแต่ T 20 ถึงT63   ทักษะการรู้เท่าทันสื่อสูงมาก จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 26.59  คนระดับปานกลางจํานวน 174 คนคิดเป็นร้อยละ 46.28   ระดับต่ำจํานวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 27.12    
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1008
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010553002.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.