Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1017
Title: Construction of Executive Functions (EF) Skill Test in Basic Skills for Pratomsuksa 6 Students in Nakhon Phanom Province
การสร้างแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ด้านทักษะพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครพนม
Authors: Darika Duangbu
ดาริกา ดวงบุ
Tatsirin Sawangboon
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การสร้างแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร
ทักษะพื้นฐาน
Construction of Executive Functions Skill Test
Basic Skills
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to develop the indicators of Executive Functions (EF) Skill Test in Basic skills for Pratomsuksa 6 Students in Nakhon Phanom Province. 2) to create the measurement and find the qualitative of Executive Functions (EF) Skill Test in Basic skills for Pratomsuksa 6 Students in Nakhon Phanom Province. The sample groups were 630 students in Prathom Suksa 6, semester 2, academic year 2018 from 40 schools in Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1. The sample group of the study was selected by using Stratified Random Sampling. The research tools used in this study were 1) the measurement of Executive Functions (EF) Skill Test in Basic skills for 33 items. The Data were analysis by using the discrimination for the total Item - total correlation, the reliability was used in Cronbach’s alpha coefficient (α) and the validity was used in confirmatory factor analysis. The results of the development of indicators of Executive Functions (EF) Skill Test in Basic skills for Pratomsuksa 6 Students in Nakhon Phanom Province found that there are 3 main elements, 6 sub-elements and 33 indicators in the Executive Functions (EF) Skill Test in Basic skills as follows: 1. The element of Working Memory has 2 sub-elements as follows 1.1) take the information into long-Term Memory in order to be able to remember and do it later which included with 7 indicators. 1.2) Attention is included with 4 indicators. 2) The element of Inhibitory Control has 2 sub-elements as follows 2.1) Emotional Control is included with 5 indicators. 2.2) Thinking and making choices that essential to be success, it is including with 6 indicators. 3) The element of Cognitive Flexibility has 2 sub-elements as follows: 3.1) the modification of thinking, changing perspective, it is including with 6 indicators. 3.2) Solving problems in a variety of ways, it is including with 5 indicators. 2. The measurement of Executive Functions (EF) Skill Test in Basic skills was characterized by 5 level estimation scale for 33 items which have discrimination) (rxy) values ranging from 0.421 to 0.762. The reliability (α) value is 0.947. The validity of the structure which consider by the suitable of the model (Goodness of fit indices) suitable for every value as follows: Chi–Square = 2.866, df = 6, /df = 0.477, p-value = 0.825, CFI=1.000, TLI = 1.000, RMSEA=0.000 และ SRMR = 0.006.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ด้านทักษะพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครพนม 2) เพื่อสร้างแบบวัดและหาคุณภาพแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ด้านทักษะพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 630 คน จาก 40 โรงเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ด้านทักษะพื้นฐาน จำนวน 33 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาอำนาจจำแนกด้วยวิธี Item-total correlation ค่าความเชื่อมั่น ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน  1. ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ด้านทักษะพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครพนม พบว่า ทักษะการคิดเชิงบริหารด้านทักษะพื้นฐานมี 3 องค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบย่อย และ 33 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านความจำที่นำมาใช้งาน มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การดึงข้อมูลมาใช้ ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ และ 1.2) ความสนใจจดจ่อ ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบด้านการยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) ควบคุมอารมณ์ ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ และ 2.2) การคิดไตร่ตรองเลือกทำสิ่งที่จำเป็นต่อความสำเร็จประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบด้านการยืดหยุ่นความคิด มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) การปรับเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนมุมมอง ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้ และ 3.2) แก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ 2. แบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 33 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.421 ถึง 0.762 ค่าความเชื่อมั่น (α) เท่ากับ 0.947 และมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างซึ่งพิจารณาจากดัชนีความเหมาะสมพอดีของโมเดล (Goodness of fit indices) มีความเหมาะสมดีทุกค่า ดังนี้ Chi-Square = 2.866, df = 6, /df = 0.477, p-value = 0.825, CFI = 1.000, TLI = 1.000, RMSEA = 0.000 และ SRMR = 0.006
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1017
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010581002.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.