Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1023
Title: The Developing Program of Teacher’s Competency Promoting in Mathematics Learning Management in School Under Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 1
การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
Authors: Jintana Suntornwat
จินตนา  สุนทรวัฒน์
Peerasak Worrachat
พีระศักดิ์ วรฉัตร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรม
การพัฒนาสมรรถนะครู
การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
Program
Developing Teacher’s Competency Promoting
Mathematics Learning Management
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of the research were (1) to analyze the elements, and the indicators of Teacher’s Competency Promoting in Mathematics Learning Management in School Under Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 1, (2) to study the needs of Competency Promoting in Mathematics Learning Management in School Under Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 1, and (3) to develop program of Teacher’s Competency Promoting in Mathematics Learning Management in School Under Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 1. Research and Development are an application of Participatory Action Research. There are 152 participants. The instrumentations are the following ; 1) evaluation forms 2) questionnaire 3) interview forms. Statistics used for data analysis are percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Need Index. The results were followed : 1. The analyze of elements, the indicators on Teacher’s Competency Promoting in Mathematics Learning Management in School Under Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 1. There were 4 elements and 12 indicators. By 5 experts and reported that the model’s possibility, suitability and utility are at the high level. 2. The study current conditions and desirable conditions about Teacher’s Competency Promoting in Mathematics Learning Management in School. Show that the program’s possibility, suitability and utility were at high level with the x̅ of 4.15, S.D. = 0.40. 3. The results of development program of Teacher’s Competency Promoting in Mathematics Learning Management in School were 5 categories. Were principle objective content and methodology of program setting evaluation and have 4 course developing were Training Group Problem Solving Learning by themselves and job observation. The results of possibility, suitability were at most level.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปรแกรมจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ได้ 10 องค์ประกอบ 23 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1) การพัฒนาหลักสูตรและการวางแผนการสอน มี 2 ตัวชี้วัด 2) วิธีการสอน มี 3 ตัวชี้วัด 3) การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มี 2 ตัวชี้วัด 4) ทักษะด้านการสื่อสาร มี 2 ตัวชี้วัด 5) การแก้ปัญหา มี 2 ตัวชี้วัด 6) ความเข้าใจในความแตกต่างของผู้เรียน มี 2 ตัวชี้วัด 7) การพัฒนาสื่อและนวัตกรรม มี 2 ตัวชี้วัด 8) การวัดผลและประเมินผล มี 3 ตัวชี้วัด 9) ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนร่วมจัดการศึกษา มี 2 ตัวชี้วัด 10) ความรู้ในเนื้อหาคณิตศาสตร์ มี 3 ตัวชี้วัด ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ขององค์ประกอบและตัวชี้วัด พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3. ผลการพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการดำเนินการ และการประเมินผล ส่วนโปรแกรมการพัฒนาครูกระบวนการเริ่มจาก 1) การประเมินก่อนการพัฒนา การพัฒนา และประเมินหลังการพัฒนา 2) วิธีการพัฒนา ประกอบด้วย การฝึกอบรม การรวมกลุ่มแก้ปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการศึกษาดูงาน ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมระดับมาก และมีความเป็นไปได้โดยรวมระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1023
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010586005.pdf9.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.