Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1033
Title: The Development Program of Teacher Development on Creative Thinking Learning Management Supporting the Learning of Primary School Student Khonkhean District 5 
โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
Authors: Supattra Phonkhun
สุพัตรา พลขันธ์
Wittaya Worapun
วิทยา วรพันธุ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมพัฒนาครู
การจัดการเรียนรู้
ความคิดสร้างสรรค์
Teacher Development Program
Learning Management
Creative Thinking
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of the research were (1) to study current conditions and desirable conditions of teacher development on creative Thinking Learning Management Supporting The Learning of Primary School Student Khonkhean District 5, (2) to develop the creative Thinking Learning Management Supporting The Learning Of Primary School Student Khonkhean District 5. The research were 2 terms (1) to study current conditions and desirable conditions of teacher development on creative Thinking Learning Management Supporting The Learning of Primary School Student Khonkhean District 5, (2) to develop the creative Thinking Learning Management Supporting The Learning of Primary School Student Khonkhean District 5. The sample of people were teachers of Primary School Student Khonkhean District 5 in 2019. The teachers were selected by purposive sampling from 2,872 participants, There are 260 schools by Multi Stage Sampling, There are 350 participants by Stratified Random Sampling, Needs Assessment and Best Practice. Statistics used for data analysis are percentage, mean and standard deviation. The results are as followed : 1. Result of the current conditions about teacher development on creative Thinking Learning Management Supporting The Learning of Primary School Student Khonkhean District 5. reported that the program’s possibility, suitability and utility are at more level (x̄ = 3.72, S.D. = 0.76) for the most of conditions and Result of desirable conditions about teacher development on creative Thinking Learning Management Supporting The Learning  Of  Primary School Student Khonkhean District 5. reported that the program’s possibility, suitability and utility are at the most level (x̄ = 4.62, S.D. = 0.63). 2. Result of a use program of development of teacher development on creative Thinking Learning Management Supporting The Learning of Primary School Student Khonkhean District 5, were 1) principle 2) objective 3) material 4) procedure 5) evaluation by the experts reported that the model’s possibility, suitability and utility are at the most level (x̄ = 4.65).
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 การวิจัยนี้ดําเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2562 จำนวน 2,872 คน จาก 260 โรงเรียนโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Sampling) เพื่อหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง และจำแนกสถานศึกษาโรงเรียนศูนย์เครือข่ายจากนั้นดำเนินการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ให้ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 คน ได้มาโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น และเทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ผลการศึกษาพบว่า 1. ความคิดเห็นผู้บริหารและครูต่อสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.72, S.D. = 0.76) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน คือ ขั้นการนำความคิดใหม่มาสร้างสรรค์งาน (x̄ = 3.80, S.D. = 0.77) รองลงมาคือ ขั้นนำ (x̄ = 3.75, S.D. = 0.73) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือขั้นการสร้างอุปมาแบบตรงหรือเปรียบเทียบแบบตรง (x̄ = 3.64, S.D. = 0.77) สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.62, S.D. = 0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้นการนำความคิดใหม่มาสร้างสรรค์งาน (x̄ = 4.65, S.D. = 0.60) รองลงมาคือ ขั้นการสร้างอุปมาคำคู่ขัดแย้ง (x̄ = 4.64, S.D. = 0.59) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ขั้นการสร้างอุปมาบุคคลหรือเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของ (x̄ = 4.54, S.D. = 0.66) 2. ผลการพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา มีดังนี้ 1. ด้านขั้นนำ 2. ด้านขั้นการสร้างอุปมาแบบตรงหรือเปรียบเทียบแบบตรง 3. ขั้นการสร้างอุปมาบุคคลหรือเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของ 4. ด้านขั้นการสร้างอุปมาคำคู่ขัดแย้ง 5. ด้านขั้นอธิบายความหมายของคำคู่ขัดแย้ง 6. ด้านขั้นการนำความคิดใหม่มาสร้างสรรค์งาน 4) วิธีการพัฒนา 5) การประเมินผล  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.69) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.65)
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1033
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010586066.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.