Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1043
Title: Developing the Program of Teachers Development on Problem-based Learning Instruction for Schools under Nongbua Lum Phu Primary Educational Service Area Office 2
การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
Authors: Alongkorn Tonkanya
อลงกรณ์ ต้นกันยา
Prasong Saihong
ประสงค์ สายหงษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมพัฒนาครู
การจัดการเรียนรู้
ปัญหาเป็นฐาน
Teachers Development Program
Learning Instruction
Problem-based Learning
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:      The objectives of this research were to 1) Study the current state and the desirable state of problem-based learning instruction in schools under Nongbua Lum Phu Primary Educational Service Area Office 2, 2) develop the problem-based learning instruction program for schools under the Office of Nongbua Lum Phu Primary Educational Service Area 2. The research was divided into 2 phases as follows: Phase 1: Study the current state and the desirable state of problem-based learning instruction in schools under Nongbua Lum Phu Primary Educational Service Area Office 2 have the sample group include 305 teachers from 40 schools under the Office of Nongbua Lum Phu Primary Educational Service Area 2, set the sample size by used Krejcie and Morgan table and used stratified random sampling to selected the samples. After collected data 276 questionnaires comeback (90.49%), Phase 2: develop the problem-based learning instruction program for schools under the Office of Nongbua Lum Phu Primary Educational Service Area 2 have key informants consisted of administrators and teachers from 2 pilot schools and 5 luminaries program assessments. Research instruments were the interview form and assessment form. Statistical used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, and priority needs index. The research result was found that;      1. The problem-based learning instruction of schools under the Office of Nongbua Lum Phu Primary Educational Service Area 2 has the current state overall and all aspects were at the moderate levels and the desirable state overall and all aspects were at high levels.      2. The problem-based learning instruction program for schools under the Office of Nongbua Lum Phu Primary Educational Service Area 2 consisted of 7 elements were 1) Introduction, 2) Objectives, 3) Target group, 4) Content, 5) Method, 6) Media and tools, and 7) Program assessment. The total duration of the program was 70 hours, the content devised to 6 modules 21 indicators were as follow; Module 1 Determine the problem has 3 indicators, Module 2 Understanding the problem has 6 indicators, Module 3 Conducting research has 4 indicators, Module 4 Knowledge Synthesis has 2 indicators, Module 5 Summarizes and evaluates the value of the answer has 3 indicators, and Module 6 Presentation and Evaluation has 3 indicators.         There are 5 methods for developing teachers on problem-based learning instruction consisted 5 methods that were 1) self-study, 2) training, 3) study visits, 4) supervision, and 5) collaboration and learning exchange. The total duration of the program was 70 hours and the results of the program assessment by 5 luminaries were found that the suitable assessed overall was at a high level and the possible assessed overall was at the highest level. 
     การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำนวน 305 คน จาก 40 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เพื่อให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (เก็บข้อมูลกลับคืนมาได้ 276 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.49) ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนต้นแบบ 2 แห่ง รวมจำนวน 4 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่ประเมินโปรแกรม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยปรากฏดังนี้      1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 มีสภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และมีสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก      2. โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กลุ่มเป้าหมาย 4) เนื้อหา 5) วิธีดำเนินการ 6) สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ และ 7) การประเมินผลโปรแกรม ใช้ระยะเวลาในการดำเนินโปรแกรมรวม 70 ชั่วโมง แบ่งเนื้อหาออกเป็น 6 โมดูล 21 ตัวชี้วัด ดังนี้ โมดูลที่ 1 การกำหนดปัญหา มี 3 ตัวชี้วัด โมดูลที่ 2 การทำความเข้าใจกับปัญหา มี 6 ตัวชี้วัด โมดูลที่ 3 การดำเนินการศึกษาค้นคว้า มี 4 ตัวชี้วัด โมดูลที่ 4 การสังเคราะห์ความรู้ มี 2 ตัวชี้วัด โมดูลที่ 5 การสรุปและประเมินค่าของคำตอบ มี 3 ตัวชี้วัด และโมดูลที่ 6 การนำเสนอและประเมินผลงาน มี 3 ตัวชี้วัด         วิธีการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ประกอบด้วย 5 วิธี คือ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) การฝึกอบรม 3) การศึกษาดูงาน 4) การนิเทศติดตาม และ 5) การร่วมงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ระยะเวลาในการดำเนินโปรแกรมทั้งหมดรวม 70 ชั่วโมง และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1043
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59030580054.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.