Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1044
Title: Effects of Combined Heat and Cold therapy and Exercise on delayed onset muscle soreness symptoms and functional capacity in General Person
ผลของการรักษาด้วยความร้อนร่วมกับความเย็นบำบัด และการออกกำลังกายที่มีต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย และความสามารถในการทำงานในบุคคลทั่วไป
Authors: Pradchayakorn Arayasompho
ปรัชญากรณ์ อารยสมโพธิ์
Thanarat Laoakka
ธนารัตน์ เหล่าอรรคะ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายบำบัด
ความร้อนบำบัด
ความเย็นบำบัด
DOMS
Exercise therapy
Heat therapy
Cold therapy
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this study was to compare the effects between heat and cold therapy and exercise on DOMS symptoms and functional capacity. 50 healthy male participants were divided into two groups: Heat and Cold therapy (HCT) group (25 persons) and Exercise (E) group (25 persons). Muscle pain are caused by stepping up-down a pedestal or box at a height of 50 cm with a knee height step, with the right leg first. Use the speed of stepping-up According to the sound From the Metronome counter at 140 beats / minute for 12 minutes. DOMS symptoms measurement consists of measuring pain levels. Swelling of the thigh The strength of the thigh muscles Knee and ankle ROM  And functional capacity, including the ability to 6 minutes’ walk test by testing all variables 7 times before the experiment, after induce DOMS , after rehabilitation,  After the experiment at 8, 24, 48 and 72 hours. This study found that pain was significantly decreased (p<0.05) in both groups, swelling decreased significantly after immediate rehabilitation only in the experimental (HCT) group (p <.05). The strength, knee and ankle ROM, and 6 minutes’ walk test had no difference. When comparing between the two groups, it was found that after the rehabilitation in the experimental (HCT) group , the degree of movement of the knee in both sides was significantly higher than the experimental (E) group compared after 8 hours of rehabilitation (p <.05 ). As for other variables, there was no difference. In conclusion, both moderate exercise and heat and cold therapy can help reduce pain. However, only heat and cold therapy can help reduce swelling after causing muscle aches. Although heat and cold therapy cannot help increase the ROM after inducing DOMS, it can help to keep the ROM not lower than moderate exercise.  
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของความร้อนร่วมกับความเย็นบำบัด และการออกกำลังกาย ที่มีต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย และความสามารถในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพศชายจำนวน 50 คน แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 25 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการออกกำลังกายระดับปานกลางก่อนและหลังการทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และกลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับความร้อนก่อนและได้รับความเย็นหลังการทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทำให้เกิดขึ้นโดยการก้าว ขึ้น-ลง แท่น หรือกล่องที่ความสูง 50 cm ด้วยท่า knee height step โดยกำหนดให้เก้าขาขวาขึ้นก่อน ใช้ความเร็วในการก้าวขึ้น–ลง ตามจังหวะเสียง จากเครื่องนับจังหวะ Metronome ที่ความเร็ว 140 beats/นาที เป็นเวลา 12 นาที การวัดค่าอาการ DOMS ประกอบด้วย การวัดระดับความเจ็บปวด อาการบวมของต้นขา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา องศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและข้อเท้า และการวัดความสามารถในการทำงาน ได้แก่ การทดสอบความสามารถในการเดิน 6 นาที โดยทำการทดสอบค่าตัวแปรทั้งหมด 7 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังการฟื้นฟูทันที หลังการทดลองที่ 8, 24, 48 และ 72 ชั่วโมงตามลำดับ ผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่า อาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการฟื้นฟูทันทีในทั้ง 2 กลุ่ม (p<.05) อาการบวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการฟื้นฟูทันทีเฉพาะในกลุ่มทดลองที่ 2 (p<.05) ส่วนความแข็งแรง องศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและข้อเท้า และการทดสอบความสามารถในการเดิน 6 นาที ไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าหลังการฟื้นฟูในกลุ่มทดลองที่ 2 มีค่าองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าทั้ง 2 ข้างมากกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบหลังการฟื้นฟูที่ 8 ชม. (p<.05) ส่วนตัวแปรอื่นๆไม่มีความแตกต่างกัน สรุปว่าทั้งการออกกำลังกายระดับปานกลางและความร้อนและความเย็นบำบัดช่วยลดอาการปวดได้ แต่เฉพาะความร้อนและความเย็นบำบัดที่สามารถช่วยลดอาการบวมหลังการทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ถึงแม้ว่าความร้อนและความเย็นบำบัดจะไม่สามารถช่วยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวหลังการทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ แต่ก็สามารถช่วยคงให้องศาการเคลื่อนไหวไม่ลดลงมากกว่าการออกกำลังกายระดับปานกลาง
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1044
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010550001.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.