Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/105
Title: Analysis of the linkage and economic impact of Rubber industry in Thailand
การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงและผลกระทบทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย
Authors: Maliwan Sarapab
มะลิวัลย์ สารภาพ
Utis Bhongchirawattana
อุทิศ พงศ์จิรวัฒนา
Mahasarakham University. Mahasarakham Business School
Keywords: อุตสาหกรรมยางพารา, ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ, ตัวทวีคูณทางเศรษฐกิจ และโครงข่ายความเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ
Rubber Industry. Economic Linkage. Economic Multipliers. and Analysis Network Degree Centrality.
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this research was to analyze the forward linkage and backward linkage of the rubber industry, which affects the overall economy, and the economic impact of the rubber industry towards output, income, and income leakage as calculated with economic multipliers, using input-output tables and analysis network degree centrality of Thailand’s rubber industry. The research is divided into 180 sectors in the years 2000, 2005 and 2010, whereas the rubber sector, the rubber sheet and block rubber sector, the tyres and tubes sector, and the other rubber products sector are the representatives of the rubber industry. According to the research based on the input-output tables and analysis network degree centrality, it was found that the sectors that utilize the highest production factors from the sectors related with the rubber industry are the rubber sheet and block rubber sector, the rubber sector, and the wholesale trade sector. The sectors that are most closely associated with distributing the output to the production sector are the rubber sheet and block rubber sector, the repair of motor vehicles sector, and the motor vehicle sector. In terms of the economic multipliers of income leakage from imports and indirect tax, it was discovered that the rubber economic sector brings less income into the country than the mean of import leakage and indirect tax from other production sectors. Regarding the analysis network degree centrality, it is evident that, in 2010, the centrality increased from the year 2000, which means that the utilization of production factors and output distribution between the sectors related with the rubber industry to the other economic sectors increased in every economic sector. The top sector of the sectors related to the rubber industry was found to be the other rubber products sector. In consequence, the support of the rubber development sector will enhance the increase of the output and Income of the other linkage sectors.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงไปข้างหน้าและไปข้างหลังของอุตสาหกรรมยางพาราที่มีผลต่อสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมยางพาราที่มีต่อผลผลิต รายได้ และส่วนรั่วไหลของรายได้ โดยการคำนวณตัวทวีคูณทางเศรษฐกิจ โดยใช้การวิเคราะห์ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต และเพื่อวิเคราะห์โครงข่ายความเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย การศึกษานี้แบ่งกลุ่มสาขาเป็น 180 สาขา ในปี พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2548 และปี พ.ศ. 2553 โดยพิจารณาให้สาขาการทำสวนยางพารา สาขาการผลิตยางแผ่นรมควัน ยางเครปและยางแท่ง สาขาการผลิตยางนอกและยางใน และสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมยางพารา ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงและจากการวิเคราะห์ตัวทวีคูณผลผลิต พบว่า สาขาที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตจากสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางพารามากที่สุด ได้แก่ สาขาการผลิตยางแผ่นรมควัน ยางเครปและยางแท่ง สาขาการทำสวนยางพารา และสาขาการค้าส่ง และสาขาที่เกี่ยวเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางพารากระจายผลผลิตไปยังสาขาการผลิตมากที่สุด คือ สาขาการผลิตยางแผ่นรมควัน ยางเครปและยางแท่ง สาขาการซ่อมแซมยานพาหนะทุกชนิด และสาขาการผลิตยานยนต์ ในส่วนของค่าตัวทวีคูณการรั่วไหลของรายได้จากการนำเข้าและภาษีทางอ้อม พบว่า สาขาของอุตสาหกรรมยางพาราทำให้รายได้ของประเทศลดลงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของการรั่วไหลจากการนำเข้าและภาษีทางอ้อมของสาขาการผลิตอื่น ๆ และจากการวิเคราะห์โครงข่ายความเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ พบว่า ในปี พ.ศ. 2553 มีค่าความเป็นศูนย์กลางเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 หมายถึงมีการใช้ปัจจัยการผลิตและมีการกระจายผลผลิตระหว่างสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางพาราไปยังสาขาเศรษฐกิจอื่น ๆ เพิ่มขึ้นทุกสาขาเศรษฐกิจ สาขาที่มากที่สุดภายในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางพารา ได้แก่ สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ดังนั้น การส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราให้มากขึ้นจะช่วยให้เกิดการขยายตัวของผลผลิตและรายได้ของสาขาเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามไปด้วย
Description: Master of Economics Program in Business Economics (M.Econ.)
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/105
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010954003.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.