Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1056
Title: A Comparative Study on Analytical Thinking Ability and Learning Achievement by Using Problem Based Learning with Graphic Organizer to the Traditional Teaching Methods of Social Studies in Mutthayomsuksa 2 Students
การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: Wararat Seepattha
วรารัตน์ สีปัดถา
Yannapat Seehamongkon
ญาณภัทร สีหะมงคล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน
Analytical Thinking Ability
Learning Achievement
Problem Based Learning
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This present study aimed 1) to compare analytical thinking ability and learning achievement of Mutthayomsuksa 2 students before and after learnt through problem based learning with graphic organizer in social studies 2) to compare analytical thinking ability and learning achievement of Mutthayomsuksa 2 students between learning through problem based learning with graphic organizer and traditional teaching methods 3) to investigate students’ attitude toward the social studies subject. The sample of the present study was Mutthayomsuksa 2 students who were learning in the 2nd semester of academic year 2019 in Suwannaphumpittayapaisarn school, Suwannaphum district Roi-et. They were selected by cluster random sampling according to the classroom. There were two groups consisted of 36 students each; one was 2/6 classroom which used problem based learning with graphic organizer in class, another was 2/5 classroom which used traditional teaching methods. The instruments used in the study comprised of 1) 7 lesson plans related to problem based learning with graphic organizer and 7 lesson plans related to traditional teaching methods which both lasted 15 hours, 2) 25 items of 4 multiple choices of analytical thinking ability test with 0.89 of the reliability, 3) 30 items of 4 multiple choices of learning achievement test with 0.87 reliability, 4) students’ attitude questionnaire which was 20 items of 5 rating scales with 0.87 reliability. The statistics used in the study were mean, percentage, standard deviation, t-test dependent and t-test independent. The results revealed that 1. The students’ results of analytical thinking ability test and learning achievement test after learning through problem based learning with graphic organizer were higher than before learning with .05 statistics significantly. 2. Students who learnt through problem based learning with graphic organizer had analytical thinking ability indifferent from students who learnt through traditional teaching methods. Whereas, the students’ results of learning achievement test after learning through problem based learning with graphic organizer were higher than learning through traditional teaching methods with .05 statistics significantly. 3. Mutthayomsuksa 2 students had attitude toward social studies subject ranged in the most level. To conclude, problem based learning with graphic organizer in social studies subject effected analytical thinking ability, learning achievement and positive attitude of Mutthayomsuksa 2 students. Hence, teachers may apply this kind of teaching method in the classroom of social studies subject.
การวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เพื่อแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 36 คน คือ กลุ่มที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 และกลุ่มที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกและแผนจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 7 แผน ใช้เวลา 15 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.89 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.87 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน ใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Samples และ t-test แบบ Independent Samples ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ไม่แตกต่างกันกับการกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติและนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1056
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010585012.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.