Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1070
Title: A development of learning activities by using collaborative learning and think-pair-share technique to promote Mathematics problem solving ability for Interest and the value of money in Matthayomsuksa 5 students
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเเก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Theppabut Hanmontri
เทพบุตร หาญมนตรี
Montri Thongmoon
มนตรี ทองมูล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การเเก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
เพื่อนคู่คิด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
mathematical problem solving
think-pair-share
achievement
Issue Date:  5
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to 1) development of learning activities  by using collaborative learning and think-pair-share technique for interest and the value of money in Matthayomsuksa 5 student with a required efficiency of 70/70, 2) The compare to achievement of the interest and value of money in Matthayomsuksa 5 between using collaborative learning and think-pair-share technique and the normal teaching, 3) The compare problem solving ability of interest and the value of money in Matthayomsuksa 5. The research sample consisted of 75 Mathayomsuksa 5/5 and 5/12 student attending Roi-Et Witayalai school in second semester of academic year 2019. They were assigned into as 39 students an experimental group learned by using collaborative learning and think-pair-share technique and as 36 student a Control group learned by using the conventional approach. Both groups of students have been studying in the second semester of the academic year 2019. The instruments used in this study were: plans for organizing the learning activities by using collaborative learning and think-pair-share technique and the conventional approach, 9 plans each, for a total of 9 periods of teaching; 25 item achievement test; the mathematics problem solving ability test on learning was 5 item. The statistics used for analyses the collected data were mean, percentage, and standard deviation and independent t-test The results of study were as follows: 1. The plans for organizing the learning activities by using collaborative learning and think-pair-share technique for interest and the value of money in Matthayomsuksa 5 student entitled Statistics had efficiencies of 77.95/72.31, which were higher than the requirement. 2. The students who learned by using collaborative learning and think-pair-share technique revealed higher learning achievement than those who learned by using the conventional approach at the .01 level of significance. 3. The students who learned by using collaborative learning and think-pair-share technique for interest and the value of money revealed higher mathematical problem solving those who learned using the conventional approach at the .01 level of significance.                    In conclusion, an organization of mathematical-learning activity by using collaborative learning and think-pair-share technique for interest and the value of money in Matthayomsuksa 5 was appropriately efficient that could make the learning achievement even higher and ability in mathematics problem solving ability even higher. The teacher should be supported to implement this in learning plan and teaching method in the future
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ  3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 และ 5/12 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 75 คน ได้มาโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เลือกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 39 คน และ 36 คน ตามลำดับ  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 2 ชนิด ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 2 รูปแบบ คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ รูปแบบละ 9 แผน รวมเวลา 9 ชั่วโมง และเครื่องมือที่ใช้ในการก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชนิด ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ และแบบทสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัยเขียนตอบ จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test independent ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แผนการจัดกิจกรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่องดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ  เท่ากับ 77.92/72.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่องดอกเบี้ยเละมูลค่าของเงิน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่องดอกเบี้ยเละมูลค่าของเงิน มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01           โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคดพื่อนคู่คิด เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเหมาะสม ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนสูงขึ้นด้วย จึงควรสนับสนุนให้ครูนำวิธีการนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1070
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010556006.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.