Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1078
Title: | The Development of Mathematical Literacy for Mathayomsuksa 4 Students in Conic Section Using Constructivist Theory Model การพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ภาคตัดกรวย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนคิดสตรัคติวิสต์ |
Authors: | Pattraporn Sutrak ภัทราพร สุดรักษ์ Montri Thongmoon มนตรี ทองมูล Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ภาคตัดกรวย การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Mathematic Literacy Constructivist Theory Conic Section Action Research |
Issue Date: | 25 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research was action research which had the objective was to develop the mathematical literacy of Mathayomsuksa 4 students about learning conic section by applying the Constructivist Theory Model to achieve the criteria 60 percent. The target group was 28 students of Mathayomsuksa 4/3 students in the academic year 2019 from Borabu School, Borabu, Mahasarakham. They were selected by using the Purposive Sampling of 1 classroom. The research instruments were 1) 10 lesson plans of the Constructivist Theory Model, 2) 3 sets of the mathematical literacy test and 3) the interview form for each instrument. The statistical techniques were applied to analyze the data such as mean, percentage, and standard deviation.
The result of this research found that after accomplished with 3 spirals of action research, the mathematical literacy of all students in the target group had a score higher than 60 percent of the full score. The first spiral using the Constructivist Theory Model; 16 students were passing 60 percent of the full score, the second spiral using the Constructivist Theory Model with KWDL technique; 24 students were passing 60 percent of the full score and the third spiral using the Constructivist Theory Model with KWDL technique on the group; all of the target group (28 students) passed 60 percent of the full score. Moreover, the constructivist with the KWDL technique in group activities can development for mathematical literacy. การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนมีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องภาคตัดกรวย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ จำนวน 3 ชุด 3) แบบสัมภาษณ์นักเรียนแบบกึ่งโครงสร้าง โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังจากจบวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 28 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มทุกคนและเมื่อพิจารณาในแต่ละวงจรปฏิบัติการพบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 ใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ พบว่านักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม มีจำนวน 16 คน วงจรปฏิบัติการที่ 2 ใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิค KWDL พบว่านักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม มีจำนวน 24 คน และการประเมินสิ้นสุดในวงจรปฏิบัติการที่ 3 ซึ่งใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิค KWDL แบบกิจกรรมกลุ่ม พบว่านักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม มีจำนวน 28 คน แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิค KWDL แบบกิจกรรมกลุ่ม สามารถพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้ |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1078 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61010556025.pdf | 7.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.