Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1081
Title: Development of eleventh grade students' scientific conceptions in the topic of Circulatory system in Biology course by Context-based learning together with mnemonic
การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค (Mnemonic) เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด ในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Kotchakorn Buaphat
กชกร บัวพัฒน์
Sumalee Chookhampaeng
สุมาลี ชูกำแพง
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: แนวคิดวิทยาศาสตร์
การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน
กลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค
scientific conceptions
Context-based learning
mnemonic
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research aims to develop scientific conceptions of Grade 11 students by Context-based learning together with mnemonic, with the intention to achieve scientific understanding level. The target group was 25 students in mathayomsuksa 5/10 students Sarakhampittayakhom School, Thailand, studied in the second semester of academic year 2019. Action Research was used in this research which consist of 3 cycles. The research instruments were: 1) ninth lesson plans with Context-based learning together with mnemonic 2) the open-ended conceptual test covering 18 questions on the topic of Circulatory system 3) the observational checklist covering 4 questions and 4) the semi-structured interview covering 2 questions. The research presented that in the first cycle, 5 students (20%) had scientific conceptions on scientific understanding level. In the second cycle, 13 students (52%) had scientific concepts understanding on sound understanding level. In the third cycle, 16 students (64%) had scientific concepts understanding on scientific understanding level.
การวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค ให้อยู่ในระดับแนวคิดวิทยาศาสตร์สมบูรณ์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 จำนวน 25 คน โรงเรียนสารคามพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการวิจัย 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค จำนวน 9 แผน 2) แบบวัดแนวคิดวิทยาศาสตร์แบบอัตนัย จำนวน 18 ข้อ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมแบบตรวจสอบรายการ จำนวน 4 ข้อ และ 4) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 2 ข้อ         ผลการวิจัยพบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีระดับแนวคิดวิทยาศาสตร์สมบูรณ์ จำนวน 5 คน  คิดเป็นร้อยละ 20  วงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีระดับแนวคิดวิทยาศาสตร์สมบูรณ์ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 52 วงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีระดับแนวคิดวิทยาศาสตร์สมบูรณ์ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 64
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1081
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010556030.pdf8.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.