Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1090
Title: Development of Modelling Skill of Mattayomsuksa 5 Students Entitle Acid-Base Through Model-Based Learning
การพัฒนาทักษะการสร้างแบบจำลอง เรื่อง กรด–เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน
Authors: Wanloph Prarinthong
วัลลภ ปริญทอง
Prasart Nuangchalerm
ประสาท เนืองเฉลิม
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาทักษะการสร้างแบบจำลอง
กรด–เบส
การเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน
Development of Modelling Skill
Acid-Base
Model-Based Learning
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this study aimed to develop of modelling skill of Mattayomsuksa 5 students Entitle Acid–Base by using model-based learning. The target group in this study consisted of 22 Mattayomsuksa 5 students attending in the second semester of academic year 2019, Suksasongkhortawatburi Roi–et province school, Thawatburi district, Roi–et province, Special Education Bureau. The instrument used in this study were : 1) 8 lesson plans of acid–base 2) the behavior observation of science model 3) modelling ability in making science model. The statistics used for analyzing data were percentage, mean, and standard deviation. The result of the study revealed that 1. The first cycle process evaluating through the criteria found that the score achievement of 70% of students is 21–28, 61-81% (22 students) 12 students (54.54%) pass the criteria had achieved score of 70% or higher, and 10 students (45-45) did not pass the criteria. 2. The first cycle process evaluating through the criteria found that the score achievement of 70% of students is 21–28, percent passed the criteria, had achieved score of 70% or higher.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง กรด–เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 22 คน ชาย 10 คน หญิง 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง กรด–เบส 8 แผน แบบสังเกตพฤติกรรมการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. วงจรปฏิบัติการที่ 1 นำผลคะแนนมาเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดความสามารถระดับดี ร้อยละ 70 จัดอยู่ในช่วงคะแนน 21–28 ร้อยละ 61-80 มีนักเรียนทั้งหมด 22 คน พบว่า นักเรียนจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 54.54 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และนักเรียน 10 คน ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละ 45.45 2. วงจรปฏิบัติการที่ 2 นำผลคะแนนมาเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดความสามารถระดับดี ร้อยละ 70 จัดอยู่ในช่วงคะแนน 21–28 ร้อยละ 61-80 มีนักเรียนทั้งหมด 22 คน พบว่า นักเรียนทั้งหมด 22 คน พบว่า นักเรียนจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละ 100
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1090
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010585510.pdf10.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.