Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1091
Title: The Development Guidelines of Conflict in School under the office of Buriram Primary Educational Service Area 2
การพัฒนาแนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
Authors: Sunyaluck Lorprakhon
สัญลักษณ์ หล่อประโคน
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาแนวทาง
ความขัดแย้งในสถานศึกษา
The Development Guidelines
Conflict in School
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to 1) study the problem conditions of conflicts in school under the office of Buriram primary educational service area 2. 2) To develop guidelines of conflict in school under the office of Buriram primary educational service area 2. Divided into 2 phases as follows: Phase 1. Study the problem conditions of conflicts in school under the office of Buriram primary educational service area 2. Sample group used in the research is that school administrators, vice-director, acting for school principal, teacher and personnel under the office of Buriram primary educational service area 2 of 357 people using the method of comparing the total population based on the sample size table of Taro Yamane and stratified sampling. The instrument was a 5-scale rating questionnaires. Phase 2. Development guidelines of conflict in school under the office of Buriram primary educational service area 2. The group of information providers in the study guidelines was school administrators with an excellent performance 3 people which are obtained by purposive sampling. The group that gave information in evaluating the guidelines was school administrators, teachers and educational supervisor for 5 people which is obtained by purposive sampling. The instruments research used were interview form and appropriateness and feasibility assessment form. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The results of the study were as follows: 1. Results of study the problem conditions of conflicts management methods in school under the office of Buriram primary educational service area 2. Found that conflicting problem in the school of school administrators, teacher and personnel. Overall, there is a low average. When consider each aspect, found that organizational conflict and intergroup conflict at a medium level. Intragroup conflict and intrapersonal conflict at a minimum level and interpersonal conflict at the least level. The aspects in the descending order of average were: 1. organizational conflict, 2. intergroup conflict, 3. Intrapersonal conflict, 4. intragroup conflict and interpersonal conflict 2. Result of the conflict management guidelines in school under the office of Buriram primary educational service area 2. These findings indicate that overall, it is appropriate and possibilities were at much level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สงกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา รักษาการผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 357 คน โดยใช้วิธีการเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทาง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ  จำนวน 3 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินแนวทาง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่า สภาพปัญหาลักษณะความขัดแย้งในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากร โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาแต่ละลักษณะ พบว่า ความขัดแย้งภายในองค์กร และความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม อยู่ในระดับปานกลาง ความขัดแย้งภายในกลุ่ม และความขัดแย้งภายในบุคคล อยู่ในระดับน้อย และ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล อยู่ในระดับน้อยที่สุด เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ความขัดแย้งภายในองค์กร ลำดับที่ 2 ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ลำดับที่ 3 ความขัดแย้งภายในบุคคล ลำดับที่ 4 ความขัดแย้งภายในกลุ่ม และลำดับที่ 5 ความขัดแย้งระหว่างบุคคล 2. ผลการประเมินแนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1091
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010586002.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.