Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1098
Title: Developing the Effective Academic Administration Guidelines for The Schools under Nakhon Ratchasima Office of Primary Education Service Area 7
การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
Authors: Chanitsara Chumvong
ชนิสรา ชุมวงศ์
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนา
การดำเนินงานวิชาการ
ประสิทธิผล
Developing
Academic Administration
Effective
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were 1) to study the current situations, desirable situations and needs of the effective academic administration of the schools under Nakhon Ratchasima office of primary Education service area 7, 2) to develop the guidelines for effective academic administration of the schools under Nakhon Ratchasima office of  primary Education service area 7. The study was divided into 2 phases. Phase 1 was the study related to the current situations, desirable situations and needs of the effective academic administration for the schools under Nakhon Ratchasima office of primary Education service area 7. The sample of this phase consisted of 105 schools administrators and 105 of the head of academic departments in schools under Nakhon Ratchasima office of primary Education service area 7 who were selected by stratified random sampling using table of Krejcie & Morgan. The instrument used was 5 rating scales of questionnaire. The statistics used were mean, standard deviation and PNI modified. Phase 2 was the development of the guidelines for the effective academic administration from the 3 schools under Nakhon Ratchasima office of primary Education service area 7 where there was the best practicing. The participants of this phase comprised of 6 schools administrators and the head of academic departments in schools. The instruments used were structured interview and the evaluation form of the appropriateness and the possibility. There were 5 experts who evaluated the guidelines. The instruments used were mean and standard deviation. The results revealed that 1. The current situations of the guidelines for the effective academic administration of schools under Nakhon Ratchasima office of primary Education service area 7 shown that overall rated in more level. The desirable situations of the guidelines for the effective academic administration of schools under Nakhon Ratchasima office of primary Education service area 7 pointed out that overall rated in the most level. Needs of the guidelines for the effective academic administration in schools under Nakhon Ratchasima office of primary Education service area 7 shown that the most needed were development of learning process, learning assessment and evaluation, educational guidance, educational supervision, research for educational development, schools’ curriculum development and internal quality assurance development respectively. 2. The guidelines for the effective academic administration in schools under Nakhon Ratchasima office of primary Education service area 7 consisted of 7 elements and 32 guidelines of the effective academic administration as follows; 1) schools’ curriculum development consisted of 5 guidelines, 2) development of learning process comprised of 5 guidelines, 3) learning assessment and evaluation consisted of 4 guidelines, 4) research for educational development consisted of 5 guidelines, 5) educational supervision comprised of 5 guidelines, 6) educational guidance consisted of 3 guidelines and 7) internal quality assurance development comprised of 5 guidelines. The guidelines adopted from the guidelines of the schools where there was the best practicing and using PDCA cycle to drive the administration of schools in order to be the guidelines for schools to enhance the academic administration effectively. The evaluation of the appropriateness and the possibility rated in the most level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2) พัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 105 คน และหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 105 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 รวม 210 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดขนาดโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จากการศึกษาสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) จำนวน 3 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา ซึ่งประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน       ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นของแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2. แนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 มีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ 32 แนวทาง ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มี 5 แนวทาง 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มี 5 แนวทาง 3) การวัดผลและประเมินผล มี 4 แนวทาง 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มี 5 แนวทาง 5) การนิเทศการศึกษา มี 5 แนวทาง 6) การแนะแนวการศึกษา มี 3 แนวทาง และ 7) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มี 5 แนวทาง โดยใช้แนวคิดที่ได้จากการดำเนินงานงานวิชาการของสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยใช้หลักการบริหารงานแบบ PDCA เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ใช้เป็นวิธีการในการดำเนินงานของโรงเรียนเพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ให้มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ดีขึ้น และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1098
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010586016.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.