Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1104
Title: Developing Guidelines of Risk Management of Budget in the Schools under Secondary Educational Service Area Office 2
การพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านงานงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
Authors: Mattaneeya Pethnok
มัทนียา เพ็ชรนอก
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาแนวทาง
การบริหารความเสี่ยง
งบประมาณ
Developing of Guideline
Risk Management
Budget
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to 1) investigate the current situations, desirable situations and needs of risk management related to budget section in secondary schools under the secondary Educational service area office 25, 2) to develop the guidelines of risk management on budget section in secondary schools under the secondary Educational service area office 25. The design of the present study was mixed methods. There were 2 phases of the study. Phase 1 was the study of the current situations, desired situations and needs of risk management on budget section in secondary schools under the secondary Educational service area office 25. The sample of the study in phase 1 was 201 participants consisted of school directors and teachers who were selected by stratified random sampling. Phase 2 was the developing the guidelines of risk management on budget section. The participants were 15 consisted of school directors and teachers who were selected by purposive sampling. The instruments used were questionnaire, interview questions and evaluation form. The reliability of questionnaire of currents situations was 0.996 and the reliability of desirable situations was 0.997. The statistics used in the study comprised of frequency, percentage, mean, standard deviation and PNImodified and content analysis. The results of the study revealed that 1. The current situations and desirable situations of risk management on budget section in secondary schools shown that overall rated in more level, when considered into each aspect revealed that all aspects rated in more level which could be ordered according to the highest mean as follows;  accounting, budget, planning and supplies respectively. PNI modified of needs for risk management related to budget in secondary schools rated 0.033-0.053 and ranged 0.020. When considered of each aspect shown that the most needed of developing the guidelines for risk management was supplies, accounting, planning and budget respectively. 2. The guidelines of risk management related to budget in secondary schools covered 4 elements 20 guidelines comprised of planning section, supplies section, budget section and accounting section, each covered 5 guidelines of risk management. The results of suitability evaluation of the guidelines of risk management related to budget in secondary schools pointed out that overall was rated in most level and the results of possibility evaluation revealed that overall was rated in the most level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารความเสี่ยงด้านงานงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 2) พัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านงานงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยกำหนดกระบวนการวิจัยและพัฒนาแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารความเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 201 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านงานงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 15 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันเท่ากับ 0.996 และสภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ 0.997 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงด้านงานงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านและรายข้อ พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านงานบัญชี ด้านงานการเงิน ด้านงานแผนงานและด้านงานพัสดุ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมีค่าอยู่ระหว่าง 0.033-0.053 ค่าพิสัยเท่ากับ 0.020 พิจารณารายด้าน พบว่า ด้านงานพัสดุ มีความต้องการจำเป็นที่ต้องพัฒนาโดยเร่งด่วน รองลงมาคือ ด้านงานบัญชี ด้านงานแผนงาน และด้านงานการเงิน 2. แนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านงานงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 มี 4 องค์ประกอบ 20 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ด้านงานแผนงาน 2) ด้านงานพัสดุ 3) ด้านงานการเงิน 4) ด้านงานบัญชี ด้านละ 5 แนวทางการบริหารความเสี่ยง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านงานงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน ทุกด้านมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1104
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010586024.pdf7.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.