Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1114
Title: The Developmental Program to Enhance Academic Leadership of Teachers in Small-Size Schools under Yasothon Primary Educational Service Area Office 2
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2
Authors: Kanyaphat Khamsaard
กัญญาพัชร คำสะอาด
Thatchai Chittranun
ธัชชัย จิตรนันท์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมเสริมสร้าง
ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครู
Developmental Program
Academic Leadership of Teachers
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The current study aimed to study on the two main following purposes 1) to explore the current and desirable conditions of the academic leadership of teachers in small-size schools ; and 2) to develop a program to promote academic leadership of teachers in small-size schools under Yasothon Primary Educational Service Area Office 2. Indeed, the process of this study included two levels. Firstly, it was the investigation of the current state, desirable state, and needs assessment of the academic leadership of teachers in small-size schools. A total of 270 teachers from small-size schools under Yasothon Primary Educational Service Area Office 2 participated through stratified random sampling and were asked to do a questionnaire and evaluated the suitability and feasibility of the program by five experts. The instruments used required an interview form and assessment form. The statistical analysis included percentage, mean, standard deviation and PNI Modifed The results of the current study revealed that : 1. The current state of the academic leadership of teachers in a small-size schools was typically a degree of medium ( = 3.36). Also, the desirable state of the academic leadership of teachers in a small-size schools was the strongly highest degree ( = 4.74). 2. The academic leadership enhancement program for teachers in small-size schools under the Office of Yasothon Primary Educational Service Area 2, consisted of the following components : 1) program objectives, 2) content, 3) activities, 4) tools, and 5) measurement and evaluation and additionally, program content included module 1 leadership and teaching model, module 2 participation in development, module 3 self-development and colleagues, and module 4 student development. The methods of development were self-education, training, and study excursion. The suitability and feasibility of the program, evaluated by five experts, revealed a suitably reliable and high level of possibility.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 เป็นลักษณะการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 270 คน ใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modifed) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.36 ) สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74 ) 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 ประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 2) เนื้อหา 3) กิจกรรม 4) เครื่องมือ 5) การวัดและประเมินผล เนื้อหาของโปรแกรม ได้แก่ โมดูลที่ 1 การเป็นผู้นำและแบบอย่างทางการสอน โมดูลที่ 2 การมีส่วนร่วมในการพัฒนา โมดูลที่ 3 การพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน โมดูลที่ 4 การพัฒนานักเรียน วิธีการพัฒนา คือ การศึกษาด้วยตนเอง การฝึกอบรม และการศึกษาดูงาน ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม  โดยผู้ทรงคุณวุฒิ  5 คน โดยรวม มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1114
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010586039.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.