Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1131
Title: The Development of Teacher Explication Programs in Learning Management for Promote Students’ Critical Thinking in Nong Bua Lamphu Primary Educational Service Area Office 1
การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1
Authors: Wanrudee Laosombut
วรรณฤดี เหล่าสมบัติ
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมพัฒนาครู
การคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน
Development Program of Teacher
Critical Thinking of Students
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research were 1) to study the current and desirable conditions of teacher development to promote critical thinking of students under the office of Nong Bua Lam Phu primary education area 1, 2) to develop a teacher development program to promote critical thinking of students under the office of Nong Bua Lam Phu primary education area 1. This was a research and development with populations including teachers in basic education institutions under the office of Nong Bua Lam Phu primary education area 1 for the academic year 2019 with the total of 1,562 students from 203 schools. The sample group consisted of teachers in basic education institutions Under the Office of Nong Bua Lam Phu Primary Education Area 1, for the academic year 2019, consisting of 308 people. The research has been divided into 2 phases as follows: Phase 1 to study of current conditions and desirable conditions of teacher development to promote effective thinking of student. Discretion sample were the teachers in basic education institutions and the data were collected by a total of 308 people. The group of data consisted of 5 experts. The tools used for data collection were questionnaires. Statistics used for data analysis were mean, standard deviation. Phase 2 to development programs to promote efficient thinking of student and the discretion data provider group consisted of 5 program evaluation experts. The tools used to collect data were the statistical evaluation form used for data analysis, namely mean, standard deviation. The results of the analysis of current conditions and desirable conditions of teacher development to promote critical thinking of students found that the current conditions of teacher development to promote critical thinking of students under the office of Nong Bua Lam Phu primary education area 1, it was at a moderate level (x̄ = 3.42, S.D. = 0.55). The aspect which has the highest mean is preparation, the second is the problem situation. The aspect that has the lowest mean is assessment, thinking and application and the desirable conditions of teacher development to promote critical thinking of students under the office of Nong Bua Lam Phu primary educational service area 1, in the highest level (x̄ = 4.74, S.D. = 0.45). The aspect with the highest mean value was the proposal of problem situations, followed by the practice of thinking and collecting data. The aspect that has the lowest mean is assessment, thinking and application and necessary index values adjusted (PNImodified) and the sequence of needs in all 5 areas from high to low, namely summary of ideas / discussion, thinking / presenting ideas, thinking training and collecting data assessment, thinking, application and the presentation of the situation in question preparation. The development of a teacher development program to promote critical thinking of students under the office of Nong Bua Lam Phu primary education area 1, consisting of 4 steps: 1) preparation 2) development 3) integration during work and 4) evaluation after the program development. This has been evaluated by 5 experts. The results show that the program is overall suitable at the highest level and has the overall possibility in the highest level.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 2) พัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีประชากรได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,562 คน จากโรงเรียนจำนวน 203 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 308 คน โดยการวิจัยได้ดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนทั้งสิ้น 308 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปรแกรม 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน พบว่า สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄= 3.42, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเตรียมความพร้อม รองลงมาคือ ด้านการเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการประเมินการคิดและการประยุกต์ใช้ และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.74, S.D. = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหา รองลงมาคือ ด้านการฝึกคิดและรวบรวมข้อมูล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการประเมินการคิดและการประยุกต์ใช้ และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นปรับปรุง (PNImodified) และลำดับความต้องการจำเป็นทั้ง 5 ด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสรุปผลการคิด/อภิปรายการคิด/นำเสนอการคิด ด้านการฝึกคิดและรวบรวมข้อมูล ด้านการประเมินการคิดและการประยุกต์ใช้ ด้านการเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ด้านการเตรียมความพร้อม การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) เตรียมการ 2) พัฒนา 3) บูรณาการระหว่างปฏิบัติงานและ 4) ประเมินผล หลังพัฒนาโปรแกรมฯ ได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ผลปรากฏว่า โปรแกรมฯ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1131
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010586067.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.