Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1136
Title: Guidelines for Academic Administration of Private Schools Affiliated with Maha Sarakham Provincial Education Office Using the Professional Learning Community Approach
แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Authors: Apiwut Junsom
อภิวัฒน์ จันทร์สม
Boonchom Srisa-ard
บุญชม ศรีสะอาด
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: แนวทางการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนเอกชน
แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Guidelines for Academic Administration
Private Schools
Professional Learning Community Approach
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were (1) to study the current state, desired state, and needs in academic administration of private schools affiliated with Maha Sarakham Provincial Education Office using the professional learning community approach and (2) to study guidelines for academic administration of private schools affiliated with Maha Sarakham Provincial Education Office. The samples in this study included 265 administrators and teachers, who were randomly selected. The sample size was determined using the table of Krejcie and Morgan. The instruments used in data collection consisted of a questionnaire and a structured interview. The questionnaire was in the form of five-rating scale based on the Likert scale. It also comprised the open-ended questions. The questionnaire was tried out with other 30 administrators and teachers who were not included as samples in this study in order to verify the quality of questionnaire, revealing that its discrimination index ranged from .67-.85 and its reliability was .94. The statistics, which were used to analyze the current state, desired state, and needs in academic administration of private schools affiliated with Maha Sarakham Provincial Education Office using the professional learning community approach, consisted of mean (x̅), standard deviation (S.D.), and Priority Needs Index (PNImodified). In terms of guidelines for academic administration of private schools affiliated with Maha Sarakham Provincial Education Office, the data from schools with the best practice was analyzed. Findings indicated that according to the opinions of administrators and teachers at private schools affiliated with Maha Sarakham Provincial Education Office, the current state of academic administration in overall and in each aspect was at the high level, while the desired state was at the highest level. In terms of guidelines for academic administration of private schools affiliated with Maha Sarakham Provincial Education Office, it was recommended that in the aspect of school curriculum development, administrators, teachers, and school committee should collaboratively formulate a plan by building a professional learning community (PLC) for developing a school curriculum based on visions, missions, goals, and desired characteristics of a school. In the aspect of learning process development, teachers should develop themselves on the techniques for effective and student-centered learning management by attaining a workshop on teaching material development for improving students’ learning achievement. In the aspect of measurement, evaluation and transferal of learning outcome, a meeting between administrators and teachers should be organized by building a professional learning community in order to determine regulations or ways of practice about the measurement and evaluation by the school. In the aspect of research for educational quality development, a teacher training workshop on research should be organized, and the teachers should be promoted to conduct at least one classroom research project per a learning area in a semester. Moreover, the results of classroom research should be utilized for improving the learning management together with inviting experts to give advices to individual teachers. Lastly, in the aspect of educational supervision, a brainstorming activity based on the professional learning community approach should be conducted to improve the internal supervision. Also, visiting a classroom should be conducted to learn about problems and give advices on management of learning process.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึ่งประสงค์และความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารและครู ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่ และมอร์แกนได้สุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามวิธีของ (Likert) ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบเปิด ผู้วิจัยได้ทดลองนำแบบสอบถามไปใช้กับกลุ่มที่คล้ายกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อเท่ากับ.67-.85 และหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึ่งประสงค์และความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ใช้ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และความต้องการจำเป็น (PNImodified) และแบบสัมภาษณ์ใช้ แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ส่วนแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ศึกษาจากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคามโดยรวมและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม ด้านการพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาร่วมกันวางแผนโดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (PLC) เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถาน ศึกษาจากวิสัยทัศน์ภารกิจเป้าหมายและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูควรพัฒนาตนเองในด้านเทคนิคการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยการอบรมสัมมนาพัฒนาโดยใช้สื่อ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน จัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครูโดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (PLC) เพื่อกำหนดระเบียบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา จัดให้มีการอบรมครูในการทำวิจัย ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยกลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 1 เรื่องต่อภาคเรียน นำผลการวิจัยมาใช้พัฒนาเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนรู้โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำเป็นรายบุคคล ด้านการนิเทศการศึกษา จัดให้มีการระดมความคิดเห็นตามแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (PLC) เพื่อพัฒนาปรับปรุงการนิเทศภายในโรงเรียนมีการเยี่ยมชั้นเรียนเพื่อทราบปัญหาและให้คำแนะนำในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1136
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010586073.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.