Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1141
Title: The Guidelines for The Development of Creative Leadership of The Secondary School Administrators  Secondary Educational Service Area Office Surin
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
Authors: Kaewmanee Pattama
แก้วมณี ปัทมะ
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: แนวทาง
การพัฒนา
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์
Guidelines
Development
Creative leadership
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were: 1) To study the current and the desirable conditions of the creative leadership of secondary school administrators of  Secondary Educational Service Area Office Surin.  2) To study the development approaches of creative leadership of secondary school administrators of Secondary Educational Service Area Office Surin.  By using research and development methods, divided into 2 phases, Phase 1 is to study the current and the desirable conditions and the needs of creative leadership development of Secondary Educational Service Area Office Surin by stratified random sampling 350 people, by using scale questionnaire as a tool.  Phrase 2 Design guidelines to develop the creative leadership of secondary school administrators of Secondary Educational Service Area Office Surin, and evaluate the guidelines of the creative leadership with purposive sampling qualified persons of 5 people, by using used suitable assessment and possibility of the creative leadership development approach of secondary school administrators forms. The statistics for data analyses are frequency, percentage, mean, standard deviation And the demand index is necessary.  The research results were found that 1. Current state of creative leadership of secondary school administrators of Secondary Educational Service Area Office Surin, found that an overall is moderate when considering side by side and ordering scores from highest to lowest: imagination, being creative, flexibility, and taking into account the individuality. The desirable conditions of creative leadership of secondary school administrators found that an overall is at highest level, when considering side by side and ordering scores from highest to lowest: taking into account the individuality, being creative, imagination, and flexibility. And the needs in development the creative leadership of secondary school by the need ordering from highest to lowest: taking into account, the individuality flexibility, being creative, and having imagination. 2.  Guidelines for the Creative Leadership Development of Secondary School Administrators of Secondary Educational Service Area Office Surin. Overall, an appropriates and the possibilities are at the highest level.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน  สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์  2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์  โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ  ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์  และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์   จำนวน  350  คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 2 ออกแบบแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์  และประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33  พบว่า  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  ได้แก่  การมีจินตนาการ  การมีความคิดสร้างสรรค์  การมีความยืดหยุ่น  และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  ได้แก่  การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  การมีความคิดสร้างสรรค์  การมีจินตนาการ  และการมีความยืดหยุ่น  ส่วนความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  การมีความยืดหยุ่น  การมีความคิดสร้างสรรค์  และ การมีจินตนาการ  2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์  มีทั้งหมด  4  ด้าน ได้แก่ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  ด้านการมีความยืดหยุ่น  ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์  และด้านการมีจินตนาการ  ทั้ง 4 ด้านมีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์รวมทั้งสิ้น  17  แนวทาง  โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1141
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010586008.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.