Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1142
Title: Strategies for Developing Learning Organization of Schools Subsidiary to the Secondary Educational Service Area Office Khon Kaen
กลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
Authors: Khemanij Bunsalee
เขมนิจ บุญสาลี
Karn Ruangmontri
กาญจน์ เรืองมนตรี
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: กลยุทธ์การพัฒนา
องค์การแห่งการเรียนรู้
สถานศึกษา
Strategy for Developing
Learning Organization
School
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to 1) investigate the existing situation, desirable situation and needs of being learning organization of schools, 2) to develop strategies being learning organization of schools. The design of the study was mixed methods. There were two phases of the study. Phase 1 was the study of the existing situations, desirable situations and needs of being learning organization of schools. The sample of the study in phase 1 was 224 participants consisted of school administrators and teachers who were selected by stratified random sampling. Phase 2 was the developing strategies being learning organization of schools. The participants were 24 consisted of school administrators and teachers who were selected by purposive sampling. The instruments used were questionnaire, interview questions, document recorded form, not involved observation form and evaluation form. The discrimination of questionnaire of existing situations rated 0.495-0.897 and reliability was 0.982. The discrimination of questionnaire desirable situations rated 0.519-0.939 and reliability was 0.994. The statistics used in the study comprised of frequency, percentage, mean, standard deviation and PNImodified and content analysis.   The results of the study revealed that: 1. The existing situations of being learning organization of schools shown that overall and all aspects were rated in more level which could be ordered according to the highest mean as follows; systems thinking, building shared vision, personal mastery, team learning and mental models respectively. The desirable situations of being learning organization of schools shown that overall and all aspects were rated in most level which could be ordered according to the highest mean as follows; team learning, systems thinking, personal mastery, building shared vision and mental models respectively. PNImodified of needs for being learning organization of schools rated 0.108–0.168. When considered of each aspect shown that the most needed of developing the strategies being learning organization of schools was mental models, team learning, personal mastery, building shared vision and systems thinking respectively. 2. Strategies for developing learning organization of schools covered five strategies included 1) strategy for administration promoting with the sustainable quality systems, 2) strategy for administrators and teachers’ capacity promoting, 3) strategy for using of knowledge, experience and technology to support operations promoting, 4) strategy for schools administration with aim at the performance-based-work promoting and 5) strategy for schools development participation promoting. Five strategic developing consist of five measures, five objectives, fifteen targets, twenty-three key performance indicators and forty-four practices guidelines. Results of suitability and possibility evaluation of strategies for developing learning organization of schools pointed out that overall and all aspects were rated in most level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 2) พัฒนากลยุทธ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยกำหนดกระบวนการวิจัยและพัฒนาแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 224 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ระยะที่ 2 พัฒนากลยุทธ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 24 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกเอกสาร แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และแบบประเมิน แบบสอบถามสภาพปัจจุบันมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.495 ถึง 0.897 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.982 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.519 ถึง 0.939 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.994 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ด้านความรอบรู้แห่งตน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และด้านการมีแบบแผนความคิดอ่าน สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านความรอบรู้แห่งตน ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการมีแบบแผนความคิดอ่าน ดัชนีความต้องการจำเป็นมีค่าอยู่ระหว่าง 0.108-0.168 พิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีแบบแผนความคิดอ่าน มีความต้องการจำเป็นที่ต้องพัฒนาโดยเร่งด่วน รองลงมาคือ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ด้านความรอบรู้แห่งตน ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการคิดอย่างเป็นระบบ 2. กลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มี 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารด้วยระบบคุณภาพอย่างยั่งยืน 2) กลยุทธ์ส่งเสริมศักยภาพผู้บริหารและครู 3) กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้ความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน 4) กลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาที่มุ่งเน้นผลสำเร็จของงาน และ 5) กลยุทธ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 มาตรการ 5 วัตถุประสงค์ 15 เป้าหมาย 23 ตัวชี้วัดความสำเร็จ 44 แนวทางปฏิบัติ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1142
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010586009.pdf8.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.