Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1166
Title: Learning Management using SSCS Model to Promote Mathematical Problems Solving Ability on Application for Prathomsuksa 6 Students
การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: Benjaporn Takonrum
เบญจพร ตะคอนรัมย์
Nongluk Viriyapong
นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS
เรื่องบทประยุกต์
ความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์
SSCS Model
applications
problem-solving skills
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to 1) develop mathematics lesson plans using the SSCS model for enhancing mathematical problem-solving skills on the topic of applications for  Prathom Suksa 6 students based on the 70/70 criterion, 2) find out the effectiveness index of mathematics lesson plans using the SSCS model for enhancing mathematical problem-solving skills on the topic of applications for Prathom Suksa 6 students, 3) compare the mathematics learning achievement on the topic of application of Prathom Suksa 6 students, who were taught by the mathematics lesson plans based on the SSCS model, with the 70% criterion, and 4) compare mathematics problem-solving abilities of Prathom Suksa 6 students on the topic of application of the Prathom Suksa 6 students, who were taught by the mathematics lesson plans based on the SSCS model, with the 70% criterion.  The sample group was 31 Prathom Suksa 6 students, who were selected by cluster random sampling, at Ban Non Sang School, Buachet District, Surin Province, during the second semester of the academic year 2019. The experiment lasted 18 periods, each covering 60 minutes. The instruments in data collection consisted of eighteen 60-minutes lesson plans, an achievement test on the mathematics subject under the topic of applications, which was a multiple-choice test containing 20 items with four answers to select, and a 5-item subjective test to determine the students’ mathematical problem-solving ability. The collected data were analyzed by using means of arithmetic mean, means of percentage, standard deviation, and one-sample t-test. The research results are as follows: 1. The efficiency (E1/E2) of mathematics lesson plans using the SSCS model in a topic of applications for enhancing mathematical problem-solving skills for Prathom Suksa 6 students was 78.64/72.55, which is higher than the established criterion of 70 /70.    2. The SSCS lesson plan, which enhanced the ability to solve mathematical problems on the topic of applications for Prathom Suksa 6 students, had an effectiveness index of 0.5096, indicating the students’ progress at 50.96%. 3. The Prathom Suksa 6 students who were taught by the mathematics lesson plans based on the SSCS model in a topic of applications had their scores on mathematical achievement higher than the 70 percent criterion at .05 level of significance.  4. The mathematical problem-solving ability of the students, who were taught by the mathematics lesson plans based on the SSCS model in a topic of applications, was significantly higher than the criteria 70% at the .05 level.
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโนนสังข์ อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 34 คน ใช้เวลาทดลอง 18 คาบ คาบละ 1 ชั่วโมง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 แผน แผนละ 1 คาบ คาบละ 60 นาที แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ  และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 6 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐานใช้ one sample t-test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ /เท่ากับ 78.64/72.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้ 2. ผลการศึกษาแผนจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นั้นมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5096 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 50.96 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1166
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010283004.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.