Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1169
Title: Learning Management Using KWDL Model to Enhance Critical Thinking and Mathematical Problem Solving Abilities on Exponential Function for Mathayomsuksa 4 Students
การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: Sittiwat Toonphirom
สิทธิวัฒน์ ทูลภิรมย์
Nongluk Viriyapong
นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: KWDL
ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์
KWDL
exponential function
critical thinking
problem-solving skill
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to 1) develop mathematics lesson plans using KWLD model for enhancing critical thinking and mathematical problem-solving skills on the topic of exponential functions for Mathayomsuksa 4 students based on the 70/70 criterion, 2) find out the effectiveness index of using KWDL model to enhance critical thinking and mathematical problem solving abilities on exponential functions for Mathayomsuksa 4 students, 3) compare the mathematics learning achievement on the topic of exponential functions of Mathayomsuksa 4 students, who were taught by the enhancing mathematical problem-solving skills on the topic of exponential functions for Mathayomsuksa 4 students based on the 70% criterion, and 4) compare mathematics problem-solving abilities of the Mathayomsuksa 4 students, who were taught by the mathematics plans using KWLD model, with the 70% criterion, The sample group was 26 Mathayomsuksa 4 students, who were selected by cluster random sampling. The experiment lasted 16 periods, each covering 50 minutes. The instruments in data collection consisted of sixteen 50-minutes lesson plans, an achievement test on the mathematics subject under the topic of exponential functions, which was a multiple-choice test containing 20 items with four answers to select, and a 6-item subjective test to determine the students’ mathematical problem-solving ability. The collected data were analyzed by using means of arithmetic mean, means of percentage, standard deviation, and one-sample t-test. The research results are as follows. 1. Result develop mathematics lesson plans using KWLD model for enhancing critical thinking and mathematical problem-solving skills on the topic of exponential function for Mathayomsuksa 4 students was 77.58/73.85, which is higher the establish criterion of 70/70. 2. The KWDL lesson plan, which enhanced the ability to critically think and solve mathematical problems on the topic of exponential functions for Mathayom Suksa 4 students, had an effectiveness index of 0.4809, indicating the students’ progress at 48.09%. 3. The critical thinking of the students, who were taught by the mathematics lesson plans based on the KWDL model in a topic of exponential functions, was significantly higher than the criteria 70% at the 0.1 level. 4. The mathematical problem-solving of the students, who were taught by the mathematics lesson plans based on the KWDL model in a topic of exponential functions, was significantly higher than the criteria 70% at the .05 level.
การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสะพือวิทยาคาร อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 26 คน จาก 1 ห้อง ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 16 แผน แผนละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 6 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐานใช้ one sample t-test     ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 77.58/73.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้ 2. ผลการศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นั้นค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.4809 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 48.09 3.  ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 4.  ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ KWDL สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1169
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010283009.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.