Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1190
Title: | Effects of Tax System and e-Documents Success on Accounting Operational Efficiency of Electronic Tax Registrants ผลกระทบของความสำเร็จระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานทางการบัญชีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ |
Authors: | Naruemon Pantucha นฤมล พันธุชา Uthen Laonamtha อุเทน เลานำทา Mahasarakham University. Mahasarakham Business School |
Keywords: | ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประสิทธิภาพการดำเนินงานทางการบัญชี ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ Tax System and e-Document Accounting Operational Efficiency Electronic Tax Registrants |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purpose of this research was to study the effects of Tax system and e-document on operational efficiency of electronic tax registrants. Questionnaires were used as a tool to collect data and responded by 106 electronic tax registrants. The statistical techniques used for data analysis ware t-test, F-test (ANOVA and MANOVA), multiple correlation analysis and multiple regression analysis.
The findings revealed that electronic tax registrants had opinions about tax system and e-document as a whole and in each of all these aspects in high level; system quality, information quality, service quality, using, user satisfaction, and net benefit. electronic tax registrants had opinions about operational efficiency as a whole and in each of all these aspects in high level; accounting performance, operating cost and operating time.
Electronic Tax Registrants with different business model, operating income, operating capital, operating time and number of employees had not different opinion on tax system and e-document.
Electronic Tax Registrants with different business model, operating income, operating capital had significantly different opinion on operational efficiency in the aspect of accounting performance.
According to analyses of relationship and effects, the following were found: 1) tax system and e-document in the system quality had positive relationships with and effect on operational efficiency as a whole, and in aspect of operating cost and operating time 2) tax system and e-document in the information quality had positive relationships with and effect on operational efficiency as a whole, and in aspect of operating cost and operating time 3) tax system and e-document in the service quality had positive relationships with and effect on operational efficiency as a whole and in aspect of operating cost 4) tax system and e-document in the using had positive relationships with and effect on operational efficiency as a whole and in aspect of accounting performance, operating cost and operating time 5) tax system and e-document in the user satisfaction had positive relationships with and effect on operational efficiency as a whole and in aspect of operating cost and operating time 6) tax system and e-document in the net benefit had positive relationships with and effect on operational efficiency as a whole and in aspect of accounting performance, operating cost and operating time.
In conclusion, the relationship and the effect between tax system and e-document and operational efficiency of electronic tax registrants were positive. Therefore, electronic tax registrants should realize the success of applying tax system and e-document as operational in order to reduce redundant procedures, Save time and expense in delivering documents, save space for document storage, allowing operations to be convenient fast and can be used for further processing In the organization’s information system Also. Additionally, more effective as well as causing the operational efficiency to be more successful. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 106 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test, F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณภาพระบบ ด้านคุณภาพสารสนเทศ ด้านคุณภาพบริการ ด้านการใช้งาน ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ด้านประโยชน์ที่ผู้ใช้งานได้รับ และมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านผลการปฏิบัติงานทางการบัญชี ด้านต้นทุนในการดำเนินงาน และด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีรูปแบบธุรกิจ รายได้จากการดำเนินงาน ทุนในการดำเนินงาน ระยะเวลาในการดำเนินงาน และจำนวนพนักงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไม่แตกต่างกัน ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีรูปแบบธุรกิจ รายได้จากการดำเนินงาน ทุนในการดำเนินงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านผลการปฏิบัติงานทางการบัญชีแตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบพบว่า 1) ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ด้านคุณภาพระบบ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม ด้านต้นทุนในการดำเนินงาน และด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน 2) ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ด้านคุณภาพสารสนเทศ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม ด้านต้นทุนในการดำเนินงาน และด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน 3) ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ด้านคุณภาพบริการ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม และด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน 4) ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการใช้งาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม ด้านผลการปฎิบัติงานทางการบัญชี ด้านต้นทุนในการดำเนินงาน และด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน 5) ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม ด้านต้นทุนในการดำเนินงาน และด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน 6) ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ด้านประโยชน์ที่ผู้ใช้งานได้รับ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม ด้านผลการปฎิบัติงานทางการบัญชี ด้านต้นทุนในการดำเนินงาน และด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน โดยสรุป ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ควรตระหนักถึงความสำเร็จในการนำระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานเพื่อลดความซ้ำซ้อนและขั้นตอนดำเนินงาน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร ช่วยให้การดำเนินงานเกิดความสะดวกรวดเร็วและสามารถนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลต่อในระบบสารสนเทศขององค์กร อีกทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ |
Description: | Master of Accountancy (M.Acc.) บัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1190 |
Appears in Collections: | Mahasarakham Business School |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60010980008.pdf | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.