Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1200
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorA-pharphan Thongruengen
dc.contributorอาภาพรรณ ทองเรืองth
dc.contributor.advisorAlongkorn Akkasaengen
dc.contributor.advisorอลงกรณ์ อรรคแสงth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The College of Politics and Governanceen
dc.date.accessioned2021-09-05T15:33:02Z-
dc.date.available2021-09-05T15:33:02Z-
dc.date.issued9/6/2021
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1200-
dc.descriptionMaster of Political Science Program in Politics and Governments (M.Pol.Sci.)en
dc.descriptionรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)th
dc.description.abstract          This recent thesis ‘The Communication of Khon Tham Association in Mun River Conservation’ is a qualitative research, and its data was analyzed based on David K.Berlo’s communication model. It analyzed social context, attitude, process, communication method, topic, and communication contents (Textual Analysis) received from Khon Tham Association’s works, which have been presented to the public via various channels, depth interview and data collection. The research aimed to study the communication of Khon Tham Association in Mun River Conservation and problems as well as limitations in their communition.           The results have found that the communication of Khon Tham Association in Mun River Conservation is motor development reflecting new moment process which is a peace movement, avoiding confrontation and violence through communication. Local people had a role in proposing topic, content, data collection, and monitoring; after that, they were able to present to the public through media forms. Their presentation contained both direct and indirect issues for the aim of conserving and protecting Mun River.           Khon Tham Association’s communication model in conserving Mun River consisted of 1. source, 2. message, 3. channel and 4. receiver. The messengers had precise information, knowledge of the local area, and understanding their issues, and they also could explain changes happening to local people in Mun River, social context, ecosystem, and the variety of plants in Tham forest around Mun River. The information presented was varied and different depending on situations and the messengers’ topics, the situations that could be general in Mun Reiver or Tham forest’s abundance, ecosystem’s abudance, Mun River’s natural resource, way of life, belief, custom, ritual, symbolical culture, as well as the power of the network, the strength of the group, updated movement, and the battle. These all were presented through various channels such as news report, documentary, Phaya E-san, poets, lyrics, which were approached by the public in both main and alternative media for different groups of people.           Massage receiver groups were separated into 3 groups. The first group is local people who influenced the attitudes, the level of understanding, and radical culture that is similar to the messengers. This is the important factor for battling, decoding, straightforward understanding, engaged emotion, and interest. These people could effortlessly and readily approach the communication in the process of interpersonal communication by seeing and hearing more than other people. The second group is message receivers who really wanted information and were really open to that information. This group had basic or deep understanding; most of them are skillful in the information that they want to receive. Therefore, they easily understand the message sent by Khon Tham Association. The third group is the one who is open to some contents. The people in this group had different basic understanding sent out by the Association, and it may create the errors in the perception between the messenger and message receiver higher than other group.           Problems and limitations of the communication of Khon Tham Association in Mun River Conservation are to create the materials that are corresponding to the needs and the accessibility of different groups of people by considering relationship plan between people. By considering this difference, it can show joining point or different point due to that person’s society, which affects the creation of the same perception, the limitation of human resource, materials for creating media, sufficient budget, including the procedure in developing new generation of messenger that can take time and step-by-step development.en
dc.description.abstract          วิทยานิพนธ์เรื่องการสื่อสารของสมาคมคนทามในการอนุรักษ์แม่น้ำมูล เป็นการวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารตามแนวคิดของเดวิด เค. เบอร์โล (David K.Berlo) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์บริบททางสังคม แนวคิด รูปแบบ วิธีการในการสื่อสาร ประเด็นและเนื้อหาในการสื่อสาร (Textual Analysis) จากผลงานของสมาคมคนทาม ซึ่งได้รับการเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆที่สื่อสารสู่สาธารณะ และการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) และการรวบรวมข้อมูลเอกสาร โดยมีความมุ่งหมายของการวิจัยที่จะศึกษาวิเคราะห์การสื่อสารของสมาคมคนทามในการอนุรักษ์แม่น้ำมูลและศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของ “การสื่อสารของสมาคมคนทามในการอนุรักษ์แม่น้ำมูล”           ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารของสมาคมคนทามในการอนุรักษ์แม่น้ำมูล เป็นการพัฒนารูปแบบการเคลื่อนไหวที่สะท้อนภาพของขบวนการเคลื่อนไหวแบบใหม่ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวอย่างสันติวิธี หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและความรุนแรง โดยใช้การสื่อสารซึ่งคนในพื้นที่มีบทบาทในการ เป็นผู้กำหนดประเด็น เนื้อหา รวบรวมข้อมูล สังเกตการณ์และสามารถนำเสนอสู่สาธารณะผ่าน    การสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ตามช่องทางการสื่อสารที่บุคคลหรือกลุ่มสามารถเข้าถึงได้  โดยมีการนำเสนอในประเด็นทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อเป้าหมายในการอนุรักษ์และปกป้องแม่น้ำมูล           ซึ่งกระบวนการสื่อสารสู่สาธารณะของสมาคมคนทามในประเด็นการอนุรักษ์แม่น้ำมูล ประกอบไปด้วย 1. ผู้ส่ง(source) 2. ข้อมูลข่าวสาร (message) 3. ช่องทางในการส่ง (channel)    4. ผู้รับ (receiver) โดยผู้ส่งสารจะมีความแม่นยำในด้านข้อมูล มีระดับความรู้ในเชิงพื้นที่ที่มีความเข้าใจในประเด็นปัญหา สามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกับวิถีชีวิตผู้คนลุ่มแม่น้ำมูล บริบททางสังคม การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์และความหลากหลายของพืชพันธุ์ในป่าทามบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล โดยข้อมูลข่าวสารที่ถูกนำเสนอจะมีความแตกต่างและหลากหลายตามสถานการณ์ และประเด็นของผู้ส่งสารทั้งเป็นการรายงานสถานการณ์ทั่วไปที่เกิดขึ้นกับลุ่มแม่น้ำมูล หรือนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องความอุดมสมบูรณ์ของป่าทาม ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติลุ่มแม่น้ำมูล วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม วัฒนธรรม ในเชิงสัญลักษณ์ รวมถึงการแสดงถึงพลังเครือข่ายและความเข้มแข็งของกลุ่ม และเรื่องราวของการเคลื่อนไหวและ  การต่อสู้ ผ่านการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น การรายงานข่าว สารคดี ผญาอีสาน บทกลอง       บทเพลง ซึ่งถูกนำเสนอผ่านพื้นที่สาธารณะ ทั้งทางสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก เพื่อไปยังกลุ่มผู้รับที่มีความหลากหลาย โดยกลุ่มผู้รับสาร จะเป็นออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มผู้รับสารที่เป็นประชาชนในพื้นที่ ส่งผลต่อการมีทัศนคติ ระดับความรู้ความเข้าใจ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันกับผู้ส่งสาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลการต่อรับรู้ การถอดรหัส การเข้าใจความหมายง่าย  มีความรู้สึกร่วมและสนใจกับสิ่งที่นำเสนอ สามารถเข้าถึงช่องทางการสื่อสารในกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลด้วยการเห็น การได้ยิน ได้ง่ายและรวดเร็วกว่าผู้รับสารกลุ่มอื่นที่ 2 กลุ่มผู้รับสารที่ต้องการข้อมูลและเปิดรับสารนั้นจริงๆ กลุ่มนี้จะมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน หรือเชิงลึก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทักษะความชำนาญในเรื่องที่ต้องการรับสาร ทำให้เข้าใจในเรื่องที่สมาคมคนทามในฐานะของผู้ส่งสารต้องการสื่อสารได้โดยง่าย 3 กลุ่มผู้รับสารที่เปิดรับเนื้อหาเฉพาะในบางประเด็นผู้รับสารกลุ่มนี้จะมีระดับความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องที่สมาคมคนทามนำเสนอมากน้อยต่างกัน ทำให้  การรับรู้ระหว่างผู้ส่งสาร (สมาคมคนทาม) และผู้รับสารอาจมีความคลาดเคลื่อนได้สูงกว่าผู้รับสารในกลุ่มอื่นๆ           ด้านปัญหาและข้อจำกัดของการสื่อสารของสมาคมคนทามในการอนุรักษ์แม่น้ำมูลพบว่าในการสร้างสื่อที่ตรงตามความต้องการและการเข้าถึงของกลุ่มคนที่หลากหลาย โดยพิจารณาแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อาจจะมีจุดร่วมหรือจุดต่างอันเนื่องมาจากคุณลักษณะทางสังคมของบุคคลนั้น ซึ่งมีผลต่อการสร้างการรับรู้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และข้อจำกัดทางกำลังคน อุปกรณ์ในการผลิตสื่อ งบประมาณที่เพียงพอ รวมถึงกระบวนการพัฒนานักสื่อสารรุ่นใหม่ที่ต้องใช้ระยะเวลาและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน th
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectกระบวนการสื่อสารth
dc.subjectการอนุรักษ์แม่น้ำมูลth
dc.subjectสมาคมคนทามth
dc.subjectขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่th
dc.subjectcommunication modelen
dc.subjectMun River Conservationen
dc.subjectKhon Tham Associationen
dc.subjectNew Social Movementsen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleThe Communication of Khon Tam Association in Mun River Conservationen
dc.titleการสื่อสารของสมาคมคนทามในการอนุรักษ์แม่น้ำมูลth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58011380007.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.