Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1204
Title: Collaboration in Public Land Management : The Case Study of Khok Nong Sim in Pathumrat District, Roiet
การสร้างความร่วมมือในการจัดการที่ดินสาธารณประโยชน์ : กรณีศึกษา โคกหนองสิม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Pacharapol Hanmang
พชรพล หาญเมือง
Wanida Phomlha
วนิดา พรมหล้า
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: ที่ดินสาธารณประโยชน์โคกหนองสิม
การจัดการที่ดินสาธารณประโยชน์
การสร้างความร่วมมือ
The management of public land
Collaboration
Public land in Khok Nong Sim
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The study of collaboration in public land management: the case study of Khok Nong Sim in Pathumrat District of Roi Et Province is the qualitative research with the aims to (1) study the situation of conflict regarding public land management in Khok Nong Sim of Pathumrat District located in Roi Et Province (2) study the situation of collaboration and roles of stakeholders related to public land management in Khok Nong Sim of Pathumrat District located in Roi Et Province (3) explore the guidelines for enhancing sustainable collaboration related to public land management in Khok Nong Sim of Pathumrat District located in Roi Et Province. The research begins by conducting data through documentary research and employed interviews with 17 key informants to collect data from the fields. The key informants are selected based on the purposive sampling technique. Regarding the situation of problems of public land management in Khok Nong Sim of Pathumrat District located in Roi Et Province, the research revealed that the research areas is unique but with different interesting issues including: 1) lack of land for subsistence 2) lack of clear rights over public land 3) lack of supervision and coordination regarding clarity in understanding land rights of government agencies and 4) lack of mutual understanding among stakeholders for Khok Nong Sim public land management. These problems significantly lead to both collaboration and conflict. Regarding the situation of collaboration and roles of stakeholders related to public land management in Khok Nong Sim of Pathumrat District located in Roi Et Province, the research found that there are two main types of collaborations comprising: the collaboration among the villagers themselves (internal collaboration) as well as the collaboration from external sectors (external collaboration). The internal collaboration comprises three groups of villagers including: the villagers in Pone Soong sub-District who utilize land in the public areas; the villagers in Bua Dang sub-District who utilize land in the public areas; and the villagers in Pone Soong sub-District who do not utilize land in the public areas. The relationship of those three groups of villagers can be defined as both collaboration and conflicts. Similarly, the external collaboration also consists of three types of people namely: the group of community leaders (the head of sub-district and the head of villages); the group of civil society; and the group of related government authorities. The research revealed some recommendations to enhance sustainable collaboration related to public land management in Khok Nong Sim of Pathumrat District located in Roi Et Province that the need of more communication within community as well as with more support from mediators for meditation; the need of law for conflict management and also for compensation; study visit by government sector and workshop for enhancing knowledge about public land utilization and its related laws. The areas of knowledges can include the issues of trespassing on public lands; the interpretation of public land utilization; legally access to public land.
การศึกษาการสร้างความร่วมมือในการจัดการที่ดินสาธารณประโยชน์: กรณีศึกษา โคกหนองสิม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความขัดแย้งในการจัดการการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์โคกหนองสิม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาสถานการณ์ความร่วมมือและบทบาทของแต่ละกลุ่มบุคคลในการจัดการที่ดินสาธารณประโยชน์โคกหนองสิม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อหาแนวทางในการสร้างความร่วมมือในการจัดการที่ดินสาธารณประโยชน์โคกหนองสิม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ดอย่างยั่งยืนต่อไป โดยเก็บข้อมูลในเบื้องต้นด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร ส่วนการเก็บข้อมูลในพื้นที่จะใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นจำนวน 17 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตัวผู้ให้สัมภาษณ์ ในด้านสภาพปัญหาหรือความขัดแย้งในการจัดการที่ดินสาธารณประโยชน์: กรณีศึกษาโคกหนองสิม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า ในบริบทของพื้นที่มีลักษณะที่เฉพาะเจาะจงและมีหลายประเด็นปัญหาที่น่าสนใจซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน 2) ปัญหาการขาดความชัดเจนของสิทธิ์ในที่ดินสาธารณประโยชน์โคกหนองสิม 3) ปัญหาการขาดการกำกับ ติดตาม ประสานงานเกี่ยวกับความชัดเจนในการทำความเข้าใจสิทธิ์ในที่ดินของหน่วยงานภาครัฐ และ 4) ปัญหาการไม่ยอมรับความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายในการจัดการการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์โคกหนองสิม โดยทุกปัญหาข้างต้นล้วนแต่ส่งผลให้เกิดทั้งความร่วมมือและความขัดแย้งขึ้น สถานการณ์ความร่วมมือและบทบาทของแต่ละกลุ่มบุคคลในการจัดการที่ดินสาธารณประโยชน์โคกหนองสิม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า ในการจัดการการสร้างความร่วมมือสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ เกิดจากการที่ชาวบ้านร่วมมือในการจัดการความร่วมมือด้วยกันเองและเกิดจากหน่วยงานภายนอกเข้ามาช่วยในการจัดการสร้างความร่วมมือ โดยพบว่า ในกลุ่มชาวบ้านยังสามารถแยกออกเป็นอีก 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มชาวบ้านตำบลโพนสูงที่ทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ กลุ่มชาวบ้านตำบลบัวแดงที่ทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ และกลุ่มชาวบ้านตำบลโพนสูงที่ไม่ได้ทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ทั้ง 3 กลุ่มล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กันทั้งเชิงความร่วมมือและความขัดแย้ง ในส่วนของกลุ่มบุคคลจากภายนอกที่เข้ามาส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์โคกหนองสิมก็สามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มของผู้นำชุมชนกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มของภาคประชาสังคม และกลุ่มของหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แนวทางในการสร้างความร่วมมือในการจัดการที่ดินสาธารณประโยชน์โคกหนองสิม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า สามารถแบ่งออกเป็นข้อเสนอแนะหรือแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยความร่วมมือของคนในพื้นที่ด้วยกันเอง กล่าวคือ การให้หันหน้ามาพูดคุยกันและมีการเสนอให้มีคนกลางเข้ามาช่วยในการเจรจาไกล่เกลี่ยและการแก้ไขจากหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาช่วยเหลือในการจัดการปัญหา กล่าวคือ การใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐานในการแก้ไขและเมื่อหากเกิดผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายนั้น ก็ต้องมีกระบวนการในการเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อน ตลอดจนเมื่อปัญหาได้รับการแก้ไขแล้วควรที่จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ให้ความรู้ในด้านกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแง่ของการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์และการให้ความหมายของการบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันให้ได้รับการตีความอย่างถูกต้องและเป็นธรรมที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ของทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกต่อไป
Description: Master of Political Science (M.Pol.Sc.)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1204
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011380013.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.