Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1206
Title: The Views of Chicken and Sugarcane Farmer towards the Enforcement of Contract Farming Promotion and Development ACT, B.E. 2560 in Kosum Phisai District in Mahasarakham Province 
มุมมองของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่และผู้ปลูกอ้อยต่อการนำพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 มาใช้ในพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Surasak Wongthaisong
สุรศักดิ์ วงษ์ไธสง
Nattakant Akarapongpisak
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: ระบบเกษตรพันธสัญญา
กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่
กลุ่มเกษตรผู้ปลูกอ้อย
Contact Farming
Chicken Farmers Group
Sugarcane Farmer Group
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research is to study the problems of using contract farming with chicken and sugarcane farmers and the views of the farmers in KosumPhisai District. MahaSarakham Province on the implementation of the Contact Farming System Development and Promotion Act 2017 to be used in KosumPhisai District MahaSarakham Province. The researcher divided the group of important informants into 2 groups which are the important informants for in-depth interview and key informants in the dialogue of the farmers groups, as well as observing in the said case study area. Data was analyzed by data distribution according to the explanatory interview subject which leads to the conclusion about the problems in using contract farming with chicken farmers and sugarcane growers and the perspectives of farmers, on the implementation of the Contact Farming System Development and Promotion Act 2017 in KosumPhisaiMahaSarakham Province by using the data to be descriptive analyzed. Study Result First of all, the problem of using contract farming with chicken farmers and sugarcane farmers in KosumPhisai District. Mahasarakham province, were that most of the contract farming farmers are small farmers. The chicken growers and sugarcane growers contracted in the form of price insurance. Currently, the contract characteristics and conditions of the contract are in a standardized format, with private companies and farmers holding the same contracts each. The farmers in the contract farming system, the chicken farmer group will use the closed farm system. Farmers will have to bear the cost of production factors themselves, such as chicken vaccines, higher chicken feed, water bills, to create the company's standard temperature for finance or access to other resources. The status of small-scale farmers' livelihood does not improve. In addition, small-scale sugarcane farmers must bear the potential risks, such as drought, floods, pests or diseases in crops, price of each season, etc. The limited fund resources or resources that can be converted into capital, resulting in the well-being of small-scale farmers.The group of sugarcane growers being is not better. Their debt is increased as a result of lower pulp prices but the burden is increasing from cost of production such as labor, fertilizer, medicine including transportation cost etc. Secondly, The perspective on the implementation of the Contact Farming System Development and Promotion Act 2017 in KosumPhisai District MahaSarakham Province Chicken farmers and sugarcane growers in the KosumPhisai area MahaSarakham Province does not know the implementation of the said act. It is the duty,the Office of Agricultural Cooperatives, MahaSarakham to bring the said law to farmers.However, the official itself stated that he does not know of all the details of the said act. Therefore, they did not distribute it to farmers and did not go to the field to explore about fairness in contracts in the agricultural system. In addition, the officials noticed that the area does not have a complaint with the contracting company. For the enforcement of private companies to comply with the Contact Farming System Development and Promotion Act 2017, it is not possible to enforce the private to register as required by law. While the Dispute Resolution Committee, MahaSarakham Province does not include representatives of farmers to join as a committee. This can be seen that the Contact Farming System Development and Promotion Act 2017is not enforceable in some sections.
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาในการนำเกษตรพันธสัญญาไปใช้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่และผู้อ้อย และมุมมองเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่และผู้ปลูกอ้อยในพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคามต่อการนำพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาพ.ศ. 2560 มาใช้ในพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคามผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือผู้ให้ข้อมูลสำคัญในส่วนของการสัมภาษณ์เชิงลึกและผู้ให้ข้อมูลสำคัญในส่วนของการเสวนากลุ่มผู้ปลูกอ้อยและกลุ่มผู้เลี้ยงไก่รวมถึงการสังเกตการณ์ในพื้นที่กรณีศึกษาดังกล่าวการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงข้อมูลตามประเด็นแบบสัมภาษณ์ในเชิงการอธิบายซึ่งนำมาสู่การสรุปผลเกี่ยวกับปัญหาในการนำเกษตรพันธสัญญาไปใช้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่และผู้ปลูกอ้อย และมุมมองของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่และผู้ปลูกอ้อยต่อการนำพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 มาใช้ในพื้นที่โกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคามโดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษา ประการแรกปัญหาในการนำเกษตรพันธสัญญาไปใช้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่และผู้อ้อยในพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่า โดยส่วนใหญ่เกษตรกรที่ทำเกษตรพันธสัญญาเป็นเกษตรกรรายย่อยกลุ่มผู้เลี้ยงไก่และกลุ่มผู้ปลูกอ้อยที่ทำสัญญาในรูปแบบประกันราคา ซึ่งในปัจจุบันลักษณะสัญญาและเงื่อนไขของสัญญามีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานโดยบริษัทเอกชนและเกษตรกรถือสัญญาคนละฉบับ ซึ่งเกษตรกรที่อยู่ในระบบเกษตรพันธสัญญากลุ่มผู้เลี้ยงไก่จะทำระบบฟาร์มปิด โดยเกษตรกรจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายปัจจัยการผลิตต่างๆเอง เช่น วัคซีนไก่ อาหารไก่ที่สูงขึ้น ค่าน้ำ ค่าไฟเพื่อสร้างอุณหภูมิตามมาตรฐานของบริษัทด้านเงินทุนหรือการเข้าถึงทรัพยากรด้านอื่นๆ ฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อยไม่ได้ดีขึ้น ทั้งนี้ เกษตรกรรายย่อยกลุ่มผู้ปลูกอ้อยจะแบกรับภาระความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม แมลงศัตรู พืช หรือ โรคในพืช ราคาผลผลิตแต่ละช่วงฤดูกาล เป็นต้น ด้วยข้อจำกัดของแหล่งทุนหรือทรัพยากรที่สามารถแปลงเป็นทุนได้จึงส่งผลให้ฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อยกลุ่มผู้ปลูกอ้อยไม่ได้ดีเพิ่มขึ้นและต้องแบกรับหนี้สิ้นที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบของราคาอ้อยที่ลดลงแต่ภาระค่าใช้ ปัจจัยการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น ค่าแรงงาน ปุ๋ย ยา รวมถึงค่าขนส่ง เป็นต้น ประการที่สอง มุมมองต่อการนำพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาพ.ศ. 2560 มาใช้ในพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคาม เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่และผู้ปลูกอ้อยในพื้นที่โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ไม่ทราบการนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปฏิบัติซึ่งหน้าที่ในการนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเผยแพร่แก่เกษตรกรคือสำนักงานสหกรณ์การเกษตรจังหวัดมหาสารคาม โดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเองระบุว่าไม่ทราบถึงรายละเอียดของพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งหมด จึงไม่ได้นำไปเผยแพร่เกษตรกรและไม่ลงพื้นที่ออกสำรวจเกี่ยวกับความเป็นธรรมในสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา อีกทั้งเจ้าหน้าที่มองว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่มีการร้องเรียนข้อพิพาทกับบริษัทคู่สัญญาและในส่วนของการบังคับใช้ให้บริษัทเอกชนปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 ไม่สามารถบังคับใช้ให้เอกชนจดทะเบียนได้ตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจังหวัดมหาสารคามไม่ได้กำหนดให้ตัวแทนของเกษตรกรเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย จะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 ไม่สามารถบังคับใช้ได้จริงในบางมาตรา
Description: Master of Political Science (M.Pol.Sc.)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1206
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011380019.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.