Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1208
Title: | Human Capital Development in Higher Education Institution : A Case Study of Rajabhat Mahasarakham University การพัฒนาทุนมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
Authors: | Karnjana Krupiprom กาญจนา ครูพิพรม Prayote Songklin ประโยชน์ ส่งกลิ่น Mahasarakham University. The College of Politics and Governance |
Keywords: | การพัฒนาทุนมนุษย์ สถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม Human Capital Development Higher Education Institution Rajabhat Mahasarakham University |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aimed 1) to investigate levels of human capital development in higher education institutions: a case study of Rajabhat Mahasarakham University, 2) to study the comparison of the human capital development in Rajabhat Mahasarakham University among genders, educational levels, work experiences, workplaces, and types of jobs, and 3) to study on suggestions and guidelines for human capital development in higher education institutions from the case study. Research tools for data collecting were a questionnaire and an interview form. Samples of the study were 285 staffs who were working in Rajabhat Mahasarakham University. This sample size was calculated by employed Taro Yamane’s method. The Interviewees were 10 staffs of Rajabhat Mahasarakham University who were selected by purposive sampling method. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation, T-test and F-test (One-way ANOVA) were employed for hypothesis testing, and frequency.
The research’s findings were as follows:
1. The average opinion of the respondents toward the human capital development in Rajabhat Mahasarakham University was at high level. Moreover, the results showed at high levels in every dimension; structure of the organization, employee engagement, culture of the organization, motivation, and leadership, respectively.
2. The comparison of the human capital development in Rajabhat Mahasarakham University among the differences in genders, educational levels, work experiences, workplaces, and types of jobs indicated that the opinions of the research participants who were different in educational levels and work experiences were not significantly different. Whereas, the opinions of the respondents toward the human capital development who were different in genders, workplaces, and types of jobs, were significantly different at the .05 level.
3. The study on suggestion and guidelines for further human capital development in a case study of Rajabhat Mahasarakham University had found some major suggestions; structure of the organization should be revised to be more flexible for convenient management and faster working, the leaders should equally listen to opinions and problems of the university staffs. The working atmosphere should be reliable. In addition, the work promotion should be fair for all and the university should organize social activities for the university staffs to be proud of their duties. การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาทุนมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาทุนมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ของบุคลากรในสังกัดมหาวิยาลัยราชภัฏมหาสารคามที่มีเพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน หน่วยงานที่สังกัด และประเภทบุคลากร ที่แตกต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 285 คน ใช้วิธีการคำนวณของทาโรยามาเน่ ผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ บุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test (One-way ANOVA) และความถี ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. ผลการศึกษาเกี่ยวกับระดับการพัฒนาทุนมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า บุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการพัฒนาทุนมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านความผูกพันในงาน ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านการจูงใจ และด้านภาวะผู้นำ 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการพัฒนาทุนมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ของบุคลากรในสังกัดมหาวิยาลัยราชภัฏมหาสารคามที่มีเพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน หน่วยงานที่สังกัด และประเภทบุคลากรที่แตกต่าง พบว่า บุคลากรที่มีระดับการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีเพศ หน่วยงานที่สังกัด และประเภทบุคลากร ต่างกัน มีระดับความคิดเห็น แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่สำคัญด้านโครงสร้างองค์กร ได้แก่ ควรปรับโครงสร้างการบริหารจัดการให้มีลักษณะยืดหยุ่นและมีความคล่องตัวเพื่อความรวดเร็วในการทำงาน ด้านภาวะผู้นำ ได้แก่ ผู้นำควรรับฟังความคิดเห็นและปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเท่าเทียมกัน ด้านวัฒนธรรมองค์กร ได้แก่ ควรสร้างบรรยากาศในการทำงานมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ด้านการจูงใจ ได้แก่ ควรมีการเลื่อนเงินเดือนและค่าตอบแทนที่เหมาะสม และด้านความผูกพันในงาน ได้แก่ ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่ทำให้บุคลากรมีความภาคภูมิใจในหน้าที่ของตนเอง |
Description: | Master of Political Science (M.Pol.Sc.) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1208 |
Appears in Collections: | The College of Politics and Governance |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60011381003.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.