Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/120
Title: The Communicating through Cross-cultural Performing Arts
การสื่อสารศิลปะการละครข้ามวัฒนธรรม
Authors: Jiraphorn Pantawee
จิราภรณ์ พันทวี
Peera Phanlukthao
พีระ พันลูกท้าว
Mahasarakham University. The Faculty of Fine and Applied Arts
Keywords: การสื่อสาร
ข้ามวัฒนธรรม
ศิลปะการแสดง
ขูลูนางอั้ว
Communicating
Cross-cultural
Performing Arts
Khulu Nang-Ua
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research of the Communication of Cross-cultural Dramatic Performance, has the following objectives 1) To study Isarn folk literature “Khulu Nang-Ua rewritten by Preecha Pintong 2) To construct a model of Morlum performance in English verses for singing as a media in cultural - present communication This is Qualitative research using document study, field study. The research tools included an inventory, observation and non – structured interview. Data were analyzed in accordance with the given objective and the result of the study.         The result revealed that Isarn Folk literature “Khulu Nang-Ua” rewritten by Preecha Pintong who had individually of knowledge and skill through extraordinary experience in life. Literature contents included love, beliefs, customs. and the arts of word using were brief and clear. And the use of rhyme scheme, metaphor, proverb and emotional impressive words that affected emotion of the readers         The production of cross – cultural performance “Khulu Nang-Ua” was archetype interpretation and adaptation of language usage form master copy to Thai language then to English for good standing of cross – cultural audience. In term of story adaption was deleting scene, increasing and reducing personality of characters. The appearance of dance movement was appreciated the audience, the accosting showed the joyfulness portraying the relationship of men and women.         The most important supportive factors for creative of aesthetic that help the cross – cultural performance becoming well-know and among cross – cultural audience were language using, dancing and performing Arts. That can be continuously serve the audience in terms of academic issue and entertainment.
การวิจัยเรื่องการสื่อสารศิลปะการละครข้ามวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องขูลูนางอั้ว ปริวัตรโดย ปรีชา  พิณทอง  2.) เพื่อประกอบการสร้างการแสดงพื้นบ้านหมอลำข้ามวัฒนธรรม เรื่องขูลูนางอั้ว โดยนำเสนอในรูปแบบของการขับลำเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการแสดงในด้านความบันเทิงและเผยแพร่วัฒนธรรมไทยแก่ผู้ชมชาวต่างวัฒนธรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสารการศึกษาภาคสนาม เก็บข้อมูลด้วยการสำรวจ การสังเกตและการสัมภาษณ์นำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์           ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่องขูลูนางอั้ว ปริวัตรโดย ปรีชา พิณทอง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้รูปแบบและฉันทลักษณ์รวมทั้งศิลปะในการใช้ถ้อยคำ ได้แก่ การใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายได้กระชับ ชัดเจน การใช้คำสัมผัส, คำเปรียบเทียบ, คำสุภาษิต, โวหาร ที่สามารถก่อให้เกิดอารมณ์เศร้าสะเทือนใจต่อผู้อ่าน            ในการประกอบการสร้างการแสดงพื้นบ้านอีสานหมอลำข้ามวัฒนธรรม เรื่องขูลูนางอั้วเป็นการนำเสนอวรรณกรรมต้นฉบับมาวิเคราะห์ตีความ มีการเปลี่ยนภาษาต้นฉบับสู่ภาษาไทย แล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นสื่อให้ผู้ชมชาวต่างชาติได้เข้าใจเป็นอย่างดี ท่วงท่าในการรำประกอบการแสดงทำให้ผู้ชมมีความซาบซึ้ง ประทับใจในการแสดงเกี้ยวพาราสี เป็นการสื่อถึงความสดใสร่าเริง นำเสนอท่าทางที่สัมพันธ์กันของชายหญิง           ปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการสรรค์สร้างสุนทรียภาพในการแสดงพื้นบ้านข้ามวัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักต่อผู้ชมต่างวัฒนธรรม ได้แก่ ภาษาที่ใช้, การรำและนักแสดง การแสดงข้ามวัฒนธรรมเป็นนวัตกรรมของศิลปะการละคร อันจะช่วยส่วนส่งเสริมผู้ชมในด้านวิชาการและความบันเทิงได้อย่างต่อเนื่อง
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/120
Appears in Collections:The Faculty of Fine and Applied Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55010660001.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.