Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/121
Title: Roles of Sub-district Health Promoting Hospitals Administrators in Policy Implementation: A Case Study of Surin Province
บทบาทของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ กรณีศึกษา จังหวัดสุรินทร์
Authors: Tawesuk Sirisei
ทวีสุข  ศิริไสย
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ผู้บริหาร
การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
Sub-District Health Promoting Hospital
Administrators
Policy implementation
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The Sub-District Health Promoting Hospitals or Primary Care Units (PCU) should be developed quality service as the Primary Care Award (PCA) standard. The purpose of this study is to examine the process of policy implementation through the PCU that been operated in Muang District, Surin province. The study design was Action research. The study was divided into 3 phases: the preparation, operation, and evaluation, by using quality cycle in the Process. Those were Planning Stage (P), Acting Stage (A), Observe Stage (O) and Reflect Stage (R). The 48 samples of the PCU administrators and staff, were operated in 2018, in Muang District, Surin province. The participants were purposive selected as the sample. The study tools were a questionnaire and an interview. The data were analyzed by using Percentage, Mean, and Standard Deviation by using statistics software programs and content analysis. The results showed that the sample as administrator were equally males and female, with an age mean of 50.46 years, married status, graduate degree level, incomes of 42,509.17 baht per month. While working as  Public health professionally. The participants as a staff were female, with an age mean of 42.62 years, married status, graduate degree level, incomes of 30,734.17 baht per month, working as a nurse. While action as a administrator. The study showed that both administrator and staff were high level of administration before intervention. The two Primary Care Units were succeed as Nokmoang and Kaeyai, which enhances model for public health assessment as follows: 1) Organizational Governance, 2) team work as a network (Network), 3) having goal (Goal), 4) being a learning organization (Learning Organization), 5) beneficial utilization (Utilization), 6) sharing lesson-learned (knowledge management), 7) new primary care services (New Primary Care Service), and management by using 8) good governance (Good Governance). Primary Care Units should be developed for sustainable quality service standard. In conclusion, implementation of the Primary Care Award (PCA) can be successful practitioners, the must understand the purposes of the policy and have the clear communication system to generate the participation of all stakeholders. Finally, the proactive system management will lead to effectives of the successful policy implementation.  
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือหน่วยบริการปฐมภูมิเป็นหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องมีการพัฒนาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานบริการตามนโยบายกระทรวง การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมาตรฐาน การบริการในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ การเตรียม การดำเนินการ และการประเมินผลโดยใช้วงจรคุณภาพ คือ ขั้นวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติการ (Reflection) ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของวงจร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 48 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้บริหารตัวอย่างเป็นเพศหญิงและชายเท่ากัน มีอายุเฉลี่ย 50.46 ปี สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 75.00) ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าร้อยละ 66.70 ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำแหน่งผู้บริหารเป็นนักวิชาการสาธารณสุขร้อยละ 41.70 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 42,509.17 บาท บทบาทของผู้บริหารก่อนการพัฒนาพบว่าระดับของการบริหารจัดการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอยู่ในระดับดี กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่เพศหญิงร้อยละ 87.50 มีอายุเฉลี่ย 42.62 ปี สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 62.50 การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าร้อยละ 83.30 ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 45.80 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,734.17 บาท ระดับของการบริหารจัดการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอยู่ในระดับดี หลังจากการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนอกเมือง ผลการประเมินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนอกเมือง ผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก (5 ดาว) ร้อยละ 92.23 และเมื่อนำรูปแบบไปพัฒนาต่อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแกใหญ่ พบว่าผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก (5 ดาว) ร้อยละ 94.50 ที่ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนอกเมือง คือ Nokmoang Model ดังนี้ 1) การกำกับดูแลตนเองที่ดี (Organizational Governance) 2) การทำงานเป็นทีม เป็นเครือข่าย (Network) 3) การมีเป้าหมาย (Goal) 4) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Association) 5) การนำไปใช้เพื่อเกิดประโยชน์ (Utilization) 6) การถอดบทเรียนร่วมกัน (After Action Review) 7) การบริการปฐมภูมิแบบใหม่ (New Primary Care) และ 8) การบริหารจัดการโดยหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรมีการพัฒนาตามรูปแบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดมาตรฐานคุณภาพบริการอย่างยั่งยืน โดยสรุป การนำนโยบายไปปฏิบัติเรื่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์มาตรฐานบริการจะประสบผลสำเร็จด้วยดี มีปัจจัยสำคัญ คือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติต้องมีความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบาย มีระบบการสื่อสารที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วม การจัดระบบการประเมินผลต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติเกิดประสิทธิภาพ
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/121
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011460006.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.