Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1214
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Jarunee Intharit | en |
dc.contributor | จารุณี อินทฤทธิ์ | th |
dc.contributor.advisor | Kukiat Tudpor | en |
dc.contributor.advisor | กู้เกียรติ ทุดปอ | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Public Health | en |
dc.date.accessioned | 2021-09-05T15:47:04Z | - |
dc.date.available | 2021-09-05T15:47:04Z | - |
dc.date.issued | 27/5/2020 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1214 | - |
dc.description | Doctor of Public Health (Dr.P.H.) | en |
dc.description | สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.) | th |
dc.description.abstract | Relapse in the first-episode schizophrenia patients is a common problem in mental health care system. This research and development was aimed to develop and investigate effectiveness of an integrated care model to relieve psychotic symptoms and prevent relapse in the first-episode schizophrenia patients. The study was conducted from May 2017 to January 2020. Participants were 112 clients and 34 professional staff members of a tertiary psychiatric hospital in north-eastern Thailand. Data were collected from medical records, in-depth interviews, group interviews, and questionnaires. Quantitative data were analyzed by descriptive and inferential statistics and qualitative data were analyzed by content analysis methods. The research was divided into 3 parts: 1) situation analysis of psychiatric care services for the first-episode schizophrenia, 2) development of the Integrated care model to relieve psychotic symptoms and prevent relapse in first-episode schizophrenia, and 3) implementation of the model in clients and staff members. The situation analysis of psychiatric care in 10 patients, 10 primary caregivers, and 21 professional staff members’ perspectives in psychiatric care services for schizophrenia revealed 4 domains – system and methods of care services, problems and needs for health care, risk factors of relapse, and recommendation for developing the model. The integrated care model was developed and named “1-day group psychoeducation program. This model included a group psychoeducation for the patients with first-episode schizophrenia and their primary caregivers based on the concept of psychoeducational family therapy and using the participatory group activity process; and continuous follow up with appointments and phone calls in the 4th, 12th, and 24th weeks after the group psychoeducation. The “1-day group psychoeducation program” was implemented to 52 patients (24 for experimental group and 28 for control group). Psychotic symptoms, stress levels, number of relapse, and knowledge on schizophrenia were measured and compared at baseline, 4th, 12th, and 24th weeks after the program. Opinion of patients, primary caregivers, and professional staff members were recorded. Results showed that post-intervention psychotic symptoms measured by positive and negative syndrome scale (PANSS) within the experimental group were significantly less than baseline (p<0.001), but there were no significant differences between control groups. The post-intervention stress levels measured by perceived stress scale (PSS) within experimental group were also significantly less than baseline (p<0.001). The levels of knowledge on schizophrenia significantly increased in both within and between groups (p<0.001). Number of psychotic relapses were 2 times in the experimental group and 3 times in the control group. These relapses were related to drug non-adherence, psychosocial stress. The stress levels primary caregivers were not altered whereas the levels of knowledge on schizophrenia were significantly higher than the baseline both within and between groups in the 12th and 24th weeks after the program (p<0.001). Their opinion reflected learning and growth perspectives in attitude, knowledge, caregivers' role, and stress management skills. The opinion of professional staff members on the program consisted of themes about key success factors, effectiveness, learning, and recommendations. In conclusion, this research suggests that the integrated care model to relieve psychotic symptoms and prevent relapse in first-episode schizophrenia was effective and should be continuously used to improve patient’s psychotic symptoms. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลแบบบูรณาการเพื่อลดอาการทางจิตและการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรก ดำเนินการระหว่างพฤษภาคม 2560 ถึงมกราคม 2563 ผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยครั้งแรกและผู้ดูแลจำนวน 112 คน และบุคลากรทางสุขภาพจำนวน 34 คน แหล่งศึกษาเป็นโรงพยาบาลจิตเวชระดับตติยภูมิ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการใช้แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ สถานการณ์การให้บริการผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรก โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ในผู้ป่วย 10 คน ผู้ดูแล 10 คน บุคลากรทางสุขภาพ 21 คน ผลการ ศึกษาอธิบายถึงการรับรู้เกี่ยวกับ 1) ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรก 2) ปัญหาและความต้องการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรก 3) ปัจจัยเสี่ยงของการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรก และ 4) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนารูปแบบการดูแลฯ ส่วนที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลฯ ที่สอดคล้องกับบริบทให้บริการ ได้แก่ “โปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยครั้งแรกและผู้ดูแลหลัก : โรงเรียน 1 วัน ป้องกันป่วยซ้ำ” ซึ่งเป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมที่ให้ควบคู่กับการบำบัดรักษาโรคจิตเภทตามมาตรฐาน กิจกรรมประกอบด้วย 1) การให้สุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่มแก่ครอบครัว โดยใช้กระบวนการดำเนินกิจกรรมกลุ่มแบบมีส่วนร่วม 2) การติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง 3 ครั้ง หลังได้รับสุขภาพจิตศึกษา ในสัปดาห์ที่ 4 12 24 พร้อมกับตรวจตามนัดหรือทางโทรศัพท์ ส่วนที่ 3 ผลการใช้รูปแบบการดูแลฯ ใช้วิธีการศึกษาเชิงทดลอง แบบวัดผลสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง ติดตามผลในระยะ 4 12 24 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยและผู้ดูแล แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 คนให้การดูแลตามโปรแกรม กลุ่มควบคุม 28 คน ให้การดูแลตามบริการมาตรฐาน และบุคลากรทางสุขภาพ 13 คนเป็นผู้ให้บริการตามโปรแกรม พบว่า (1) กลุ่มผู้ป่วย หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยอาการทางจิต และภาวะเครียดน้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภทมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีการกลับเป็นซ้ำ จำนวน 1 คน 2 ครั้ง กลุ่มควบคุมจำนวน 1 คน 3 ครั้ง สาเหตุจากใช้ยาไม่ต่อเนื่อง ประสบปัญหาทางจิตสังคม ใช้เครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้น/คาเฟอีน ความคิดเห็นที่สะท้อนพัฒนาการ ด้านการรับรู้ตนเอง (insight) ทัศนคติ ความร่วมมือในการใช้ยา การป้องกันกำเริบ ความรู้เรื่องโรค ทักษะจัดการกับความเครียด (2) กลุ่มผู้ดูแล ค่าเฉลี่ยภาวะเครียดของผู้ดูแลกลุ่มทดลองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมค่าเฉลี่ยภาวะเครียดไม่แตกต่างกัน ผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภทมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและมากกว่ากลุ่มควบคุมในสัปดาห์ที่ 12 24 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) ความคิดเห็นที่สะท้อนพัฒนาการด้าน ทัศนคติ ความรู้เรื่องโรค บทบาทผู้ดูแล ทักษะจัดการกับความเครียด (3) บุคลากรทางสุขภาพ ให้ความคิดเห็นในด้าน ปัจจัยความสำเร็จ ประสิทธิผลของโปรแกรม การเรียนรู้พัฒนาและข้อเสนอแนะ สรุป รูปแบบการดูแลแบบบูรณาการฯ ที่พัฒนาเป็น “โปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยครั้งแรกและผู้ดูแลหลัก: โรงเรียน 1 วัน ป้องกันป่วยซ้ำ” สอดคล้องกับบริบทการให้บริการทางจิตเวชและมีผลลัพธ์ที่เพิ่มศักยภาพผู้ป่วยและผู้ดูแลในการปกป้องผู้ป่วยจากปัจจัยกำเริบ การวิจัยนี้เสนอแนะการดำเนินการรูปแบบการดูแลแบบบูรณาการฯ นี้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาประสิทธิผลการป้องกันการกลับเป็นซ้ำต่อไป | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | อาการทางจิต | th |
dc.subject | การกลับเป็นซ้ำ | th |
dc.subject | ผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรก | th |
dc.subject | ผู้ดูแล | th |
dc.subject | การวิจัยและพัฒนา | th |
dc.subject | psychotic symptoms | en |
dc.subject | relapse | en |
dc.subject | first-episode schizophrenia | en |
dc.subject | caregivers | en |
dc.subject | research and development | en |
dc.subject.classification | Nursing | en |
dc.title | Integrated Care Model to Relieve Psychotic Symptoms and Prevent Relapse in the First-episode Schizophrenia | en |
dc.title | รูปแบบการดูแลแบบบูรณาการเพื่อลดอาการทางจิตและป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรก | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Public Health |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57011460001.pdf | 3.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.