Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1215
Title: | Community-Based Cardiac Rehabilitation Model for Patients with Post Myocardial Infarction, Muang Roi-Et District, Roi-Et Province รูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในชุมชนสำหรับผู้ป่วยภายหลังกล้ามเนื้อหัวใจตาย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด |
Authors: | Chuthaporn Phemphul จุฑาภรณ์ เพิ่มพูล Wirat Pansila วิรัติ ปานศิลา Mahasarakham University. The Faculty of Public Health |
Keywords: | ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในชุมชน กล้ามเนื้อหัวใจตาย cardiac rehabilitation community-based cardiac rehabilitation myocardial infarction |
Issue Date: | 3 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This action research aimed to develop the community-based cardiac rehabilitation (CR) model for patients with post myocardial infarction, Muang Roi-Et district, Roi-Et province. Participants consisted of post myocardial infarction patients, caregivers, community leaders, stakeholders, and multidisciplinary teams. The study processes followed three phases: 1) situational analysis; 2) development; and 3) evaluation. Research instruments included in-depth interview questions, questions for a focused group discussion, field note record, after action review record form, readmission record form, six-minute walk test record form, questionnaires of Duke Activity Status Index, questionnaires of Thai Depression Inventory, and questionnaires of The Revised Illness Perception. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, logistic regression analysis, one way repeated measure ANOVA, inductive content analysis and deductive content analysis.
Results: 1) Readmission rate was found at 35.8%. Needs for the development were identified in five dimensions: community participation in the CR, promoting the self-efficacy of patients in the CR, enhancing the capacity of a caregiver network in the community, continuing care, and care coordination between hospital and community 2) the development process consisted of four steps: building awareness and the development needs, building up caring and managing team, a pilot study for the development in a health-promoting hospital model, and expanding networks for the CR in community to other health-promoting hospitals 3) outcomes of the development were as follows. The care network in community, environments and facilities, guidelines, and innovations that contributed to the CR were improved. Health outcome of the patients were improved including (a) the readmission rate in four months decreased from 35.8% to 10% (b) After hospital discharge in 1week, 1 months, and 4 months, the six-minute walk test and the illness perception scores were significantly differences (F=51.458, p < .001; F=27.092, p < .001, respectively). 100% of patients had an improvement in functional status outcomes, and no patients had depression. The results indicate that the developed model contributes to improving the CR resulting in patients’ better health. การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในชุมชนสำหรับผู้ป่วยภายหลังกล้ามเนื้อหัวใจตายอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ร่วมวิจัยคือ ผู้ป่วยภายหลังกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ดูแล แกนนำชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน และทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการใน 3 ระยะคือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) ดำเนินการพัฒนา และ 3) ประเมินผล เครื่องมือวิจัยได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกภาคสนาม แบบวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ แบบบันทึกความสามารถในการเดิน 6 นาที แบบดัชนีประเมินระดับสมรรถภาพของการมีกิจวัตรประจำวันของดุ๊ก แบบประเมินอารมณ์เศร้า และแบบประเมินการรับรู้ภาวะเจ็บป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีอุปนัยและวิธีวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีนิรนัย ผลการศึกษา 1) ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ พบ ปัญหาการกลับมารักษาซ้ำภายใน 1 ปี สูงถึง ร้อยละ 35.8 และมีความต้องการพัฒนาเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ 5 ด้าน คือ การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน การส่งเสริมสมรรถนะของผู้ป่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ดูแลในชุมชน การดูแลต่อเนื่อง และการเชื่อมประสานการดูแลระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน 2) ได้กระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ สร้างความตระหนักและความต้องการพัฒนา สร้างทีมการพัฒนาและบริหารจัดการ นำร่องการพัฒนาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตัวอย่างและ ขยายแนวร่วมการพัฒนาไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอื่น 3) ผลลัพธ์การพัฒนา พบว่า (3.1) ได้เครือข่ายการดูแลที่เข้มแข็งในชุมชน มีสภาพแวดล้อม แนวปฏิบัติและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในชุมชนที่ดีขึ้น (3.2) ผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยดีขึ้น ได้แก่ (3.2.1) การกลับมารักษาซ้ำภายใน 4 เดือน ลดลง จากร้อยละ 35.8 เป็น ร้อยละ 10 (3.2.2) ภายหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลระยะ 1 สัปดาห์ 1 เดือน และ 4 เดือน ค่าเฉลี่ยระยะทางในการเดินใน 6 นาทีและการรับรู้ภาวะเจ็บป่วยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=51.458, p < .001; F=27.092, p < .001, ตามลำดับ) ผู้ป่วยทุกคนมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น และไม่พบภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสำหรับผู้ป่วยภายหลังกล้ามเนื้อหัวใจตายในชุมชน และผู้ป่วยมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น |
Description: | Doctor of Public Health (Dr.P.H.) สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1215 |
Appears in Collections: | The Faculty of Public Health |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57011460002.pdf | 6.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.