Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1219
Title: | Development of the Elderly Care Model for Elderly Community Kudrang Kudrang District Mahasarakham Province การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุชุมชนตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม |
Authors: | Supattra Kaewmueang สุพัตรา แก้วเมือง Udomsak Mahaweerawat อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์ Mahasarakham University. The Faculty of Public Health |
Keywords: | ผู้สูงอายุ ความรู้เท่าทันด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง Elderly Health literacy Self-care behaviors |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This participatory action research aimed to explore the situation condition and the elderly's health care problems, develop the health care model, implement the health care model by applied health literacy and 5 health care concepts, and determine the success factors of the health care model development. The subjects were 257 older people and 30 stakeholders. The data were collected by using interview questionairs, focus group discussion, and in-depth interviews. The percentage, median, interquartile range, wilcoxon matched pair sign rank test, mann - whitney u test, and binary logistic regression. The results revealed that the elderly's self-care behaviors influenced by the elderly's health literacy. Hence, adequate health literacy could enhance the elderly able to care for themselves. In addition, after implementing the health care model, the experimental group had a significantly higher median of health literacy and self-care behavior than before implementing the health care model (p <0.001). Also, in both groups (experimental - control group) had significantly medien of health literacy and self - care behaviors (p <0.001). Furthermore, the success factors the health care model development including one goal, roles and responsibilities, team coordination and community communication, promoting health literacy, and Hug Kudrang team participation. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและสภาพปัญหาในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) ศึกษากระบวนการในการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ 3) ศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้แนวคิดความรู้เท่าทันด้านสุขภาพร่วมกับการดูแลสุขภาพตามหลัก 5 อ. 4) ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 257 คน และผู้เกี่ยวข้อง 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ Wilcoxon matched pair sign rank test และ Mann - Whitney U test และ Binary logistic regression ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุได้รับอิทธิพลมาจากความรู้เท่าทันด้านสุขภาพ ทั้งนี้ การเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุมีความรู้เท่าทันด้านสุขภาพในระดับที่เพียงพอ จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม ส่วนผลการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานของความรู้เท่าทันด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และหลังการทดลองพบว่า ค่ามัธยฐานของความรู้เท่าทันด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย การมีเป้าหมายเดียวกันของทีม การปฏิบัติตามหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย การประสานงานของทีมและการสื่อสารกับชุมชน การเสริมสร้างความรู้เท่าทันด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพตนเอง และการมีส่วนร่วมของทีมฮักกุดรัง |
Description: | Master of Public Health (M.P.H.) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1219 |
Appears in Collections: | The Faculty of Public Health |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59011480011.pdf | 2.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.