Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1220
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Thanom Namwong | en |
dc.contributor | ถนอม นามวงศ์ | th |
dc.contributor.advisor | Sumattana Glangkarn | en |
dc.contributor.advisor | สุมัทนา กลางคาร | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Public Health | en |
dc.date.accessioned | 2021-09-05T15:47:05Z | - |
dc.date.available | 2021-09-05T15:47:05Z | - |
dc.date.issued | 25/5/2020 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1220 | - |
dc.description | Doctor of Public Health (Dr.P.H.) | en |
dc.description | สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.) | th |
dc.description.abstract | Hepatitis B virus (HBV) was a major global health problem. It was an important root of liver cancer. Although Thailand had the strategy to prevent and control HBV but the reality was still unclear. Therefore, necessary to develop and assess the model of the HBV prevention and control systems in community. The mixed method research was used to develop the model. The research has three stage: firstly, preparing and situation analysis, secondly, operation to develop the model; and finally, testing the model to develop. 1,258 participants aged up to 26 years-old lived at Nong-Khu subdistrict, Muang district, Yasothon province, and also 30 stakeholder participation. Qualitative data using content analysis and quantitative data using descriptive statistic and inferential statistic. Study time is during February 2019 to April 2020. The results found that the sample was mainly female (60.2 %). HBV knowledge was mostly poor level (57.6 %), 459 (36.5%) participants were risk group and 18 cases were HBsAg positive (3.9%, 95%CI 3.5 - 4.4). People who had HBsAg positive were mostly those with a family history of HBV, cirrhosis or liver cancer (61.1%). Factors associate with behavior towards HBV infection included sex, marital (single), alcohol drinking, smoking and HBV knowledge. The qualitative data found that HBV surveillance, prevention and treatment were unclear for the operation. Health literacy program has been used to improve the health of people living with HBV, which will help them access health information and make decisions about behavioral change. The program aimed to prevention of chronic HBV and acute HBV. Effective of the program found that treatment group had the HBV knowledge score and behavior score more than control group significantly. The treatment group could still prevent HBV infection in close contacts more than control group significantly, but couldn’t tell, treatment group could prevent for chronic HBV greater than control group. However, stakeholders had the high level of satisfaction score. The model for HBV surveillance and prevention among people in community developed the five components including: 1) verbal screening, 2) HBsAg testing, 3) Refer to treat, 4) Health literacy among HBsAg positive for preventing chronic HBV, and 5) Health literacy among close contacts for preventing HBV infection. The conducting by stakeholder participation. HBV prevalence of this study had the similar other study in Thailand. Verbal screening helped the classification of the risk group before HBsAg testing which could decrease a cost for the implementation. Target population for HBV surveillance were who have family history of HBV, cirrhosis and liver cancer. The health literacy program had utility to people living HBV and close contacts, helping to health information, knowledge was increasing and decision making to risk behavioral change. Also, could prevent chronic HBV and HBV infection. A development model of surveillance and prevention system of HBV in community from this research can solve HBV problem. | en |
dc.description.abstract | โรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก และเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งตับ ถึงแม้ประเทศไทยจะมียุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบ แต่การดำเนินงานในระดับพื้นที่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน จึงสนใจศึกษาเพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีในชุมชน พื้นที่จังหวัดยโสธรขึ้น โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน มี 3 ระยะ ได้แก่ 1) การเตรียมการและวิเคราะห์สถานการณ์ 2) การปฏิบัติการพัฒนาการดำเนินงาน และ 3) การทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองคู อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ที่มีอายุ 26 ปีขึ้นไป ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย 1,258 ราย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เลือกแบบเจาะจง 30 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ดำเนินการวิจัยเดือน กุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือน มีนาคม 2563 ผลการศึกษาด้านสภาพปัญหา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.2 ความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 57.6 คนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 459 ราย ร้อยละ 36.5 ซึ่งได้รับการตรวจคัดกรองพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 18 ราย ร้อยละ 3.9 (95%CI 3.5 - 4.4) ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ตับแข็ง หรือมะเร็งตับ ร้อยละ 61.1 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มี 5 ปัจจัย ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบบี ด้านสภาพการดำเนินงานในพื้นที่พบว่า ทั้งการเฝ้าระวังโรค การรักษา และการป้องกันโรคยังไม่มีรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจน จึงได้พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพขึ้นและนำไปทดลองใช้ ซึ่งหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีความรู้ และมีพฤติกรรมดีกว่ากลุ่มควบคุม สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีรายใหม่ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนการป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ากลุ่มทดลองทำได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม (p > 0.05) ความพึงพอใจต่อโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับสูง ได้รูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีในชุมชนที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การคัดกรองเพื่อหากลุ่มเสี่ยงด้วยแบบสอบถาม 2) การตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 3) การส่งต่อผู้ติดเชื้อเข้าสู่การรักษา 4) การเสริมสร้างความรู้ด้านสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มผู้ติดเชื้อ และ 5) การเสริมสร้างความรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิด โดยมีการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จากผลการศึกษาพบว่าความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีความใกล้เคียงกับภาพรวมของประเทศไทย การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบื้องต้นด้วยแบบสอบถามช่วยลดระยะเวลาและทรัพยากรในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข การเฝ้าระวังโรคหรือตรวจคัดกรองโรคควรมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเสี่ยงที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โรคตับแข็ง หรือมะเร็งในตับ การจัดโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพส่งผลดีต่อผู้ติดเชื้อ และสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้สามารถเข้าถึง เข้าใจข้อมูลด้านสุขภาพ ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถประเมินและตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทั้งนี้ รูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีในชุมชนที่ได้จากการวิจัยนี้ สามารถใช้ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบบีในชุมชนได้ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | ไวรัสตับอักเสบบี | th |
dc.subject | ชุมชน | th |
dc.subject | ยโสธร | th |
dc.subject | ความรอบรู้ด้านสุขภาพ | th |
dc.subject | Hepatitis B virus | en |
dc.subject | Community | en |
dc.subject | Yasothon | en |
dc.subject | Health literacy | en |
dc.subject.classification | Health Professions | en |
dc.title | Development of Surveillance and Prevention System of Hepatitis B Virus in Community, Yasothon | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีในชุมชน จังหวัดยโสธร | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Public Health |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60011460002.pdf | 3.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.