Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1221
Title: Health Care Model for Tuberculosis Patient in Community, Muang District, Maha Sarakham Province
รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Adisak Phalasarn
อดิศักดิ์ พละสาร
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: วัณโรค
ผู้ดูแล
การมีส่วนร่วมในชุมชน
Tuberculosis
Caregivers
Community participation
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Tuberculosis (TB) is a public health issue that relies on the participation of health networks and the care of tuberculosis patients systematically and effectively. The purpose of this action research was to study the healthcare model for tuberculosis patients in community, Muang District, Mahasarakham Province. Phase 1, had conducted explore, factors of cares and health services in the community. Questionnaires and interviews were used in 42 patients and 42 caregivers. Phase 2 had created a model of tuberculosis care in the community. The study steps consisted of planning, acting, observing, and reflecting. Phase 3 had evaluated the model of tuberculosis care in the community of Banromjai village. Data was collected including qualitative and quantitative data. Descriptive statistics used such as number, percentage, average, standard deviation, and qualitative analysis by content analysis. The results of phase 1. found TB patients had effective health services. Tuberculosis caregivers and health officials could monitor patient visits for continuous treatment. Phase 2 revealed the model of tuberculosis care in the community. Patient families had abilities to monitor care and provide a conducive environment for treatment. Community and family lowered the stigma of patients. Phase 3 found an implement of the tuberculosis care model in the community. As a result, tuberculosis patients had improved preventive and self-care behaviors. Tuberculosis caregivers had developed the potential for effective patient care.
วัณโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยด้านการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนและการบริการสุขภาพผู้ป่วยวัณโรค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผู้ป่วย 42 คน ผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค 42 คน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน โดยศึกษารูปแบบตามขั้นตอน วางแผน ปฏิบัติการ สังเกต และสะท้อนผล และระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนบ้านร่วมใจ เก็บข้อมูลคุณภาพ และเชิงปริมาณ ซึ่งใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา ระยะที่ 1 พบว่าผู้ป่วยวัณโรคเข้าถึงการบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขติดตามเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ระยะที่ 2 ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน มีระบบให้ครอบครัวผู้ป่วยติดตามการดูแลรักษา และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแล ส่วนชุมชนและครอบครัวลดการตีตราผู้ป่วย ระยะที่ 3 พบว่าการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน ส่งผลให้ผู้ป่วยวัณโรคมีพฤติกรรมการป้องกันโรคและการดูแลตัวเองได้ดี ส่วนผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคได้พัฒนาศักยภาพด้านการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1221
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011460004.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.