Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1224
Title: A  Model Development for Health Promotion in the Aging People  by Ban Yangtang Association,Tambon Rainoi, Amphor Ubonratchatani, Ubonratchatani Province
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยภาคีผู้สูงอายุในชุมชนบ้านยางเทิง ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี  จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Kidnarong Kotthong
คิดณรงค์ โคตรทอง
Buavaroon Srichaikul
บัววรุณ ศรีชัยกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ
การมีส่วนร่วม
ผู้สูงอายุ
patterns health
participation
senios
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Thailand is going towards to aging society. Increasing of the elderly, which is necessary to develop a model to look after them. This action research is purposing to study the health promotion programme to support the elderly by setting up the elderly group in the community at Ban by Ban Yang Thag  Association,Tambon Rinoi  Ubonratchatani, Ubonratchatani  Province, Thailand. The participants were recruited the elderly of 75 people and committee of the elderly club 25 people applying the action research, which were separated into 4 phases including: analyzing the problems, planning, Action following the plan, and reflection practice. Activities in accordance with the form of quantitative analysis research were employed descriptive statistics, including mean, standard deviation, percentage as well as utilizing the inferential statistics with Paired samples t-test. The results and findings revealed that the elderly health problems were caused by lack of the knowledge of elderly care, no strategies plan of health promotion for the elderly beside of the plan were not support the community requirements, further were insufficiency on health service from the health district hospital. Therefore, the model of promotion health revealed that the health promotion programme for the elderly must be integrated into the local community network to encourage them for working together, which categorized into 7 steps including 1) community survey 2) analyzing community problems, 3) Joint planning, 4) defined operational strategies, 5) established the networks, 6) responsible for the activities and 7) beneficiaries as members of the community. After the programme created the elderly people found the benefit for their lifestyles according to the community strategies and planning. Consequently, health promotion programme  will enhance the local community to engage the activities for continuing by sharing their activities as the results of the elderly health efficient.
ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ  จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนารูปแบบบริการให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่เพื่อรองรับผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยภาคีผู้สูงอายุในชุมชนบ้านยางเทิง ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้สูงอายุที่ถูกคัดเลือกจำนวน 75  คน และภาคีผู้สูงอายุจำนวน 25 คน วิธีดำเนินการวิจัยคือประยุกต์แนวคิดวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอนคือ ค้นหาปัญหาวิเคราะห์ปัญหาวางแผน, ปฏิบัติตามแผน, สังเกตผลและสะท้อนผลการปฏิบัติ การจัดกิจกรรมตามขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์รูปแบบเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired samples  t-test ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเกิดจากผู้สูงอายุขาดความรู้ในการดูแลตนเอง และไม่มีแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่ชัดเจน และการจัดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่เป็นอยู่ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน  ดังนั้นรูปแบบในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุพบว่าต้องมีการบูรณาการให้ภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นเข้ามาดำเนินงานร่วมกันการวิจัยครั้งนี้มีการดำเนินงาน 7 ขั้นตอนคือ การศึกษาบริบทชุมชน วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ วางแผนร่วมกัน กำหนดกลวิธีดำเนินงาน จัดตั้งเครือข่าย กำหนดผู้รับผิดชอบในกิจกรรมต่างๆและร่วมเป็นผู้รับประโยชน์ในฐานะสมาชิกของชุมชน ชุมชนสามารถหากลวิธีดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเองส่งผลให้เกิดการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยภาคีผู้สูงอายุให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งภายหลังจากการดำเนินการ พบว่าผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น โดยสรุป การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน เป็นกิจกรรมที่เน้นภาคีเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่มาร่วมกันจัดทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและบริบทของชุมชน โดยมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ภายใต้ความร่วมมือของแกนนำในพื้นที่ ส่งผลให้การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1224
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60051480006.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.