Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1225
Title: The Competencies Enhancing Model of Public Health Professional for Bachelor Students in Public Health Program, Mahasarakham University
รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Authors: Khajohn Intisan
ขจร อินธิแสน
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การส่งเสริม
สมรรถนะ
สาธารณสุข
Enhance
Competency
Public Health
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aimed to study the competencies enhancing model of public health professional for bachelor students in public health program, Mahasarakham university. The sample was lecturer, public health mentor, senior students of public health. Data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test. The result showed knowledge competency of students at low level (Mean 45.58, SD 7.55). Skill competency an average of 3.66 (SD 0.49). The mentors had the most expectations were primary medical care (Mean 4.10, SD 0.51). Therefore, conducted activities to competencies enhancing of the public health professional. Organize training and online classes for improving knowledge before sending students to an internship to promote knowledge and skills. which is monitored by the supervisor and mentors so that the promotion proceeds smoothly. After competencies enhancing showed that post knowledge and skills more than before, which was statistical significance (p-value <0.001). The recommendation should encourage students to receive training and internship to enhance their knowledge and skills, the students are passed by the test to obtain registration and obtain a license as a community health professional.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ประจำหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต อาจารย์พี่เลี้ยง และนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการศึกษา พบว่าก่อนการดำเนินการสมรรถนะด้านความรู้ภาพรวมของนิสิตอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 45.58 (SD 7.55) สมรรถนะด้านทักษะภาพรวม ค่าเฉลี่ย 3.66 (SD 0.49) กลุ่มสมรรถนะที่อาจารย์พี่เลี้ยงคาดหวังมากที่สุด คือ กลุ่มตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อ ค่าเฉลี่ย 4.10 (SD 0.51) ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน โดยการจัดอบรมและจัดห้องเรียนออนไลน์ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านความรู้ ก่อนส่งนิสิตให้ไปฝึกปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านทักษะ ซึ่งมีการกำกับติดตามโดยอาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง ภายหลังการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพที่จัดขึ้น พบว่า สมรรถนะด้านความรู้และทักษะหลังการดำเนินการมีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้นิสิตได้รับการฝึกอบรม และการฝึกปฏิบัติงานเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน เพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะด้านความรู้ และทักษะ ให้นิสิตเป็นผู้สอบผ่านเพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนต่อไป
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1225
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011450001.pdf7.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.