Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1226
Title: Effects of A Wrist Exercise Program in De Quervain's Disease Patients
ผลของโปรแกรมการออกกำลังข้อมือในผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
Authors: Chompunoot Cheewakul
ชมพูนุท ชีวะกุล
Kukiat Tudpor
กู้เกียรติ ทุดปอ
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
การออกกำลังกาย
ระดับความเจ็บปวด
การบวม
องศาการเคลื่อนไหว
de Quervain's
Exercise
Visual analog scale
Swelling
Range of motion
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: de Quervain’s disease is caused by heavy or repeatedly use of the wrist. This is caused by inflammation around the abductor pollicis longus (APL) and extensor pollicis brevis (EPB) tendon sheath. Sign and symptom are pain, swelling and limited movement, treatments are conservative treatment and surgical treatment. The purpose of this research was the effects of wrist exercise program in de Quervain's disease patients. Study design is quasi - experimental research. The Sample group was 100 de Quervain's disease patients, divided into two groups by simple random sampling. The experimental group received a wrist exercise program, paraffin and ultrasound. The control group received only paraffin and ultrasound 1 time / week for 8 weeks. The research tools was visual analog scale (VAS), swelling by tape measure and range of motion of the wrist by goniometer. The data were analyzed by independent t-test at statistically significantly (p <0.05). Results the comparison of pain levels and swelling before and after receiving a wrist exercise program in the experimental group and the control group showed that pain levels and swelling decreased at statistically significant (p <0.05). Result, the comparison of range of motion of the wrist between the experimental group and the control group showed that the experimental group increased at statistically significant (p<0.05). Conclusion, effects of wrist exercise programs in de Quervain's disease patients could reduce pain, swelling and increase range of motion of the wrist. However, when compared with the control group, the results were better.
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เกิดจากการใช้งานข้อมือมากเกินไป หรือใช้งานในลักษณะเดิมซ้ำๆ สาเหตุเกิดจากการอักเสบที่บริเวณรอบปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อ Abductor pollicis longus (APL) และ Extensor pollicis brevis (EPB) ทำให้มีอาการปวด อาการบวมและจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อมือ การรักษาทำได้ 2 วิธี คือ การรักษาแบบอนุรักษ์และการผ่าตัด วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังข้อมือในผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ รูปแบบการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการออกกำลังข้อมือแบบมีแรงต้านโดยใช้ยางยืดร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การรักษาด้วยพาราฟินและอัลตราซาวน์ กลุ่มควบคุมจะได้รับการรักษาด้วยพาราฟินและอัลตราซาวน์ เท่านั้น ระยะเวลา1 ครั้ง/สัปดาห์ ระยะเวลาในการศึกษาทั้งหมด 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ วัดระดับความเจ็บปวดโดยใช้ Visual analog scale (VAS) การบวมโดยใช้สายวัดและองศาการเคลื่อนไหวของข้อมือโดยใช้โกนิโอมิเตอร์ สถิติที่ใช้ได้แก่  Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา ระดับความเจ็บปวด การบวมเปรียบเทียบก่อนและหลังภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 องศาการเคลื่อนไหวของข้อมือเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมพบว่า หลังการได้รับโปรแกรมการออกกำลังข้อมือ กลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สรุป ผลของโปรแกรมการออกกำลังข้อมือโดยใช้แรงต้านจากยางยืดร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การรักษาด้วยพาราฟินและอัลตราซาวน์ จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ สามารถลดอาการปวด ลดการบวมและเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อมือได้ดีกว่า การรักษาด้วยพาราฟินร่วมกับอัลตราซาวน์เท่านั้น
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1226
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011480004.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.