Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1227
Title: The Community Empowerment Model for Dengue Hemorrhagic Fever Prevention in Samsuan Sub-district, Ban Thaen District, Chaiyaphum Province
รูปแบบการเสริมพลังอำนาจชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสามสวน อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
Authors: Thitiporn Bumrungrat
ฐิติพร บำรุงราษฎร์
Songkhamchai Leethongdissakul
สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: แกนนำประชาชน
การเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน
การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
Community Leaders
Community Empowerment
DHF Prevention and Control
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Dengue fever is one of the critical public health issues and epidemics of dengue fever have been reported in all regions of Thailand. The purpose of this action research was to develop study the community empowerment model for dengue fever prevention and control in Sam Suan Sub-district, Ban Thaen District, Chaiyaphum. The 63 coresearcher ware purposive sampling among community leaders. Both quantitative and qualitative data were collected by using the questionnaires. and indeppth-guideline. Data were analyzed by using software package, descriptive statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, maximum and minimum as well as inferential statistics, including paired t – test. Qualitative data were analyzed by content analysis. The results community analysis indicated that the model development consisted of 8 phases, namely: 1) studying the community context analysis, 2) planning meeting, 3) trial,  4) implementing the plan, 5) supervising, monitoring, supporting, 6) organizing a learning exchange meeting, 7 ) verifying with small group meetings and in-depth interviews, and 8) post-test. Overall process could significantly improving the co researcher khowledge,participation and satisfaction with the dengue ferer prevention (p-value < 0.05). In conclusion, key success factors for community empowerment were based on Suan Model, comprising: 1) Service delivery (S), 2) Unity (U), 3) Acceptance (A), and 4)Network (N). The suggestions include that the developed model should be consistently integrated with the local context. Existing activities should be prioritized and promoted for continuously development driven by the community as the main operator and supported by local authorities. 
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และมีรายงานการระบาดโรคในทุกภูมิภาคของประเทศไทย การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในตำบลสามสวน อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมายคือแกนนำประชาชน เลือกแบบเจาะจง จำนวน 63 คน การพัฒนารูปแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และสถิติเชิงอนุมานคือ pair t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนในการพัฒนารูปแบบครั้งนี้มี 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาบริบทของพื้นที่  2) ประชุมวางแผน 3) ทดสอบก่อนดำเนินการ  4) ปฏิบัติตามแผน 5) นิเทศ ติดตาม สนับสนุน 6) จัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7) ทวนสอบด้วยการประชุมกลุ่มย่อย และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 8) ทดสอบรูปแบบหลังดำเนินการ โดยภาพรวมผลการดำเนินงานตามกระบวนการ ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงความรู้ การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไขเลือดออกดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p – value < 0.05) โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนครั้งนี้ เรียกว่า SUAN Model ดังนี้ 1) การบริการเชิงรุกเข้าไปในพื้นที่  (Service delivery; S) 2) มีการสร้างเอกภาพของกลุ่มเป้าหมาย (Unity; U) 3) ให้การยอมรับในบทบาทของแกนนำในพื้นที่ (Acceptance ; A) 4) มีเครือข่ายในชุมชนที่เข้มแข็ง (Network; N) โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการเชื่อมประสานรูปแบบที่ค้นพบกับบริบทการดำเนินงานในพื้นที่อย่างกลมกลืนและให้คุณค่าการดำเนินกิจกรรมที่เป็นอยู่ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการหลักและหนุนเสริมโดยเจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1227
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011480005.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.