Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1229
Title: Implementation Model of  the Quality Criteria in Public Sector Management at Mahasarakham Provincial Public Health Office  
รูปแบบการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
Authors: Sirimaporn Nassapat
สิริมาพร นาศพัฒน์
Warapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การบริหารจัดการภาครัฐ
การดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพ
Public Sector Management Quality Award
Operation according to quality criteria
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aimed to study an operating model based on Public Sector Management Quality Award (PMQA) criteria of Maha Sarakham Provincial Public Health Office. The sample group was stakeholders and those who involved in the study in the operating model. A total of 40 samples was obtained using a purposive sampling technique. The included samples were comprised of 1 executive, 13 supervisors/deputies, and 26 staff (every 2 staff selected from each division). Quantitative data were collected by using a questionnaire, a participatory assessment form, and PMQA criteria, while focus groups, workshops, and meetings were used to collect qualitative data. Demographic data were quantitatively analyzed by descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation (SD) and Paired t-test, a type of inferential statistics, was employed to compare a pre-and post-intervention, and content analysis was used for analyzing the qualitative data. Results suggested that before implementing the PMQA strategy of Maha Sarakham Provincial Public Health Office, the mean participation score was rated at a medium level of 2.08 (SD=0.53), while the mean participation score after the intervention was 2.68, represented a high level (SD=0.47). After the PMQA committee had participated and played a role in the PMQA, Maha Sarakham Provincial Public Health Office had a higher level of the participation with statistical significance at 0.05 level and gained higher self-assessment scores, based on the PMQA criteria, of section 6, focusing on operating systems. In other words, before implementing the PMQA concept, the operation score regarding “work processes” was rated at 2.8 points, and the score of “operational effectiveness” was 2.6 points (overall 2.7 points). After the implementation, these scores increased to 4.4 points, and 4.2 points, respectively (overall, 4.3 points). Additionally, after the PMQA Committee participated and played a role in improving the quality of public sector management, the assessment scores of the operations based on the PMQA criteria of Maha Sarakham Provincial Public Health Office had increased. Factors for the success of the implementation based on the PMQA strategy of Maha Sarakham Provincial Public Health Office included: 1) strong emphasis on the PMQA operation of the executives, 2) having participation and integrate of work, and 3) having monitor, evaluation and summary of the PMQA operations.
การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้องในการศึกษารูปแบบการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม โดยเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งสิ้น 40 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน หัวหน้ากลุ่มงาน/ รองหัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 13 คนผู้ปฏิบัติงานจาก 13 กลุ่มงานๆ ละ 2 คน จำนวน 26 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แบบประเมินการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แบบประเมินคะแนนตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และแบบเก็บข้อมูลข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.08 (S.D.=0.53) ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.62 (S.D.=0.41) ซึ่งหลังจากที่คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริการจัดการภาครัฐเข้าร่วมและมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพการบริการจัดการภาครัฐ ทำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามเกิดการมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการประเมินคะแนนตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พบว่า หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ก่อนการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ ได้คะแนนด้านกระบวนการทำงาน 2.8 คะแนน ด้านประสิทธิผลการปฏิบัติการ 2.6 คะแนน ภาพรวม 2.7 คะแนน หลังการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ พบว่า ได้คะแนนด้านกระบวนการทำงาน 4.4 คะแนน ประสิทธิผลการปฏิบัติการ 4.2 คะแนน ภาพรวม 4.3 คะแนน โดยหลังจากที่คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริการจัดการภาครัฐเข้าร่วมและมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพการบริการจัดการภาครัฐ ทำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามมีคะแนนการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการบริการจัดการภาครัฐเพิ่มมากขึ้น  ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 1) นโยบาย ผู้บริหารให้ความสำคัญ 2) การมีส่วนร่วม บูรณาการทำงานร่วมกัน และ 3) มีการติดตาม ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงาน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1229
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011480008.pdf10.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.