Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1230
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorBheembhuri Patthamathammakoonen
dc.contributorภีมภูริ ปัทมธรรมกุลth
dc.contributor.advisorPrachumporn Laupraserten
dc.contributor.advisorประชุมพร เลาห์ประเสริฐth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Public Healthen
dc.date.accessioned2021-09-05T15:47:07Z-
dc.date.available2021-09-05T15:47:07Z-
dc.date.issued25/5/2021
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1230-
dc.descriptionMaster of Public Health (M.P.H.)en
dc.descriptionสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)th
dc.description.abstractThe objective of this quasi experimental research was to evaluate the effectiveness of the application of food sanitation online training media combined with social support to restaurant quality in Udon Thani municipality. The 220 samples were restaurant food handlers in Udon Thani municipality selected by stratified random sampling which divided equally into an experimental and control group. The experimental group was received food sanitation online training media combined with social support for twelve weeks. The research instruments were using knowledge quiz questions, practical questionnaires and food sanitation standards assessment form in accordance with food sanitation requirements of the Department of Health. Data were analyzed using descriptive statistics. Wilcoxon signed rank test and Mann-Whitney U test were used for mean difference comparison with significance level of 0.05. The results showed that the experimental group’s learning outcome post-test score on food sanitation knowledge (18.20+1.269) was significantly higher than the pre-test (16.09+2.433) and comparative group scores (15.74+1.994) at p < 0.001. This experimental group’s learning outcome post-test score on food sanitation practice (43.47+2.175) was also significantly higher than the pre-test (40.28+2.974) and comparative group scores (39.28+3.116) at p < 0.001. Moreover, 92.73%, 77.29%, and 70.91% of the restaurants in experimental group were accepted with the physical, biological and the Clean Food Good Tastes (CFGT) standards, respectively. The conclusions can be made that the application of food sanitation online training media combined with social support was effective and should be used for promote concrete food sanitation knowledge and practice among restaurant food handlers as of the similar context.en
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้สื่ออบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพร้านจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลนครอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สัมผัสอาหารของร้านจำหน่ายอาหารเขตเทศบาลนครอุดรธานี สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำแนกตามนิยามประเภทของร้านอาหารได้ 220 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเท่ากัน กลุ่มละ 110 คน กลุ่มทดลองได้รับสื่ออบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเป็นเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามการปฏิบัติตัว และแบบประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารตามข้อกําหนดด้านสุขาภิบาลอาหารของกรมอนามัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย Wilcoxon Signed Rank Test และ Mann-Whitney U test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการอบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานของความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร (18.20+1.269) สูงกว่าก่อนทดลอง (16.09+2.433) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (15.74+1.994) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)  กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตัวด้านสุขาภิบาลอาหาร (43.47+2.175) สูงกว่าก่อนทดลอง (40.28+2.974) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (39.28+3.116) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) นอกจากนี้ภายหลังการอบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มทดลองมีร้านจำหน่ายอาหารที่ผ่านมาตรฐานตามข้อกําหนดด้านสุขาภิบาลอาหารทางด้านกายภาพ ด้านชีวภาพ และด้านสุขาภิบาลอาหาร (CFGT) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 92.73 77.29 และ 70.91 ตามลำดับ สรุปได้ว่าการอบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมมีประสิทธิภาพและควรใช้ในการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติตัวด้านสุขาภิบาลอาหารที่เป็นรูปธรรมให้แก่ผู้สัมผัสอาหารของร้านจำหน่ายอาหารในบริบทที่คล้ายคลึงกันต่อไปth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectสุขาภิบาลอาหารth
dc.subjectแรงสนับสนุนทางสังคมth
dc.subjectคุณภาพร้านจำหน่ายอาหารth
dc.subjectผู้สัมผัสอาหารth
dc.subjectFood Sanitationen
dc.subjectSocial Supporten
dc.subjectThe Quality of Restauranten
dc.subjectFood Handlersen
dc.subject.classificationHealth Professionsen
dc.titleThe Application of Food Sanitation Online Training Media Combined with Social Support to Restaurant Quality in Udon Thani Municipalityen
dc.titleการประยุกต์ใช้สื่ออบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพร้านจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลนครอุดรธานี           th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61031480003.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.