Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1231
Title: Development of Schizophrenia Management System  in Thung Si Udom Hospital Thung Si Udom District Ubon Ratchathani Province
การพัฒนาระบบการจัดการผู้ป่วยจิตเภทของเครือข่ายโรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม  อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Namphueng Noreerat
น้ำผึ้ง โนรีรัตน์
Niruwan Turnbull
นิรุวรรณ เทิร์นโบล์
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: จิตเภท
ระบบการจัดการ
ความร่วมมือในการใช้ยา
Schizophrenia
Systems management
Adherence
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Schizophrenia is a disorder that has abnormalities in personality, thinking, and cognitive behaviour causing problems patients’ life which is considered to be a loss of years in the health of patients and the burden of disease. Long-term treatment affects the family's economic stress and is an economic burden. This action research aims to investigate the development of schizophrenia management system in Thung Si Udom Hospital, Thung Si Udom District Ubon Ratchathani Province.  The population was 52 schizophrenia patients, 86 relative caregivers and 25 who were involved with schizophrenia patient’s administration, which consisted of 5 schizophrenia patients, 5 family caregivers, 4 healthcare professionals, and 11 stakeholders from local community. The data were analysed by frequency distribution, percentage, average, standard deviation, and content analysis with qualitative data. There was 3 phases methodology involved: 1st Phase, the Preliminary phase which included problem analysis of the area context and the personal factors for the schizophrenia patients including mental symptoms, patient knowledge, and patient’s attitude towards schizophrenic care. 2nd Phase, Action, which consisted of the Plan (P) by applying the Strategic Route Map (SRM) as a tool using group discussion. The Action (A) were followed the plan including (a) the training program for caregivers and local authorities to increase the potential of schizophrenic patient care, and (b) The observation (O) and follow-up on knowledge and attitude towards schizophrenic patients care. The reflection (R) reporting the results from observation, and the 3rd Phase, which included the evaluation of mental symptoms, such as lacked of medical appointment, the stakeholder participation, level of knowledge and attitude toward schizophrenic patients care. The results revealed that 1) most patients were male, having stress from daily life, living with normal life, has felt down for schizophrenia for 6-10 years, following the medical appointment from the hospital and travelled to the hospital by care, they were also found the mind of schizophrenia symptom as well as taking the medicine in the moderate level before attending the program and high level after participating the program. 2) Most relative caregivers were female age between 51-60 years, income less than 1,000 per month, gaining the knowledge from moderate level to high level after attending the program and their attitude was enhanced to high level. The finding indicated that to conduct the schizophrenic patients required to follow the TSEECC Care, consists of a team that understands, recognizes, and helps to solve sustainably (Team), having a service system that meets the needs (Service), the ability to understand the feelings, and difficulties of others (Empathy) environment, that is conducive to healing (Environment), strong community networks (Community), continuity (Continuity). Keys successes indicated the development of schizophrenia management system to meets the needs, supported by network partners, based on applicable knowledge including the design of activities that appropriate and consistent with the problem resolutions which will enhance the local authority to continuity and sustainability.    
โรคจิตเภทเป็นโรคที่มีความผิดปกติในด้านบุคลิกภาพ ความคิด และการรับรู้ การแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งถือว่าเป็นการสูญเสียปีสุขภาวะของผู้ป่วยและเป็นภาระโรค การรักษาที่ยาวนานส่งผลกระทบถึงความเครียดทางเศรษฐกิจของครอบครัวและเป็นภาระทางเศรษฐกิจ  งานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติ เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการจัดการผู้ป่วยจิตเภทของเครือข่ายโรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม  อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี  ประชากรที่ศึกษา ระยะเก็บข้อมูลและประเมินผล คือ กลุ่มผู้ป่วยจิตเภทจำนวน 52 คน กลุ่มผู้ดูแล 86 คน และระยะการดำเนินการ คือ กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 25 คน ประกอบด้วยกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัวจำนวน 10 คน กลุ่มภาคีเครือข่ายจำนวน 11 คน และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณในกลุ่มผู้ป่วย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินอาการทางจิต 2) ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา และกลุ่มผู้ดูแล ใช้ 1) แบบประเมินระดับความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภท 2) แบบวัดระดับทัศนคติต่อผู้ป่วยจิตเภท และ3) แบบวัดระดับพฤติกรรมในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการบันทึก จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) กระบวนการพัฒนาระบบการจัดการผู้ป่วยจิตเภท มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะก่อนการดำเนินการ (Preliminary phase) ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการ (Action phase) ระยะที่ 3 ระยะประเมินผล (Evaluation phase) ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สาเหตุเกิดจากมีภาวะความเครียดในการดำเนินชีวิต มีระยะเวลา     ที่ป่วยส่วนใหญ่ 6-10 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีความผิดปกติทางอารมณ์ใช้ชีวิตตามปกติ และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง  ผู้ป่วยส่วนใหญ่เดินทางมาโดยรถส่วนตัว หลังดำเนินการผู้ป่วยอาการทางจิตระดับน้อยจำนวนเพิ่มขึ้น ระดับความร่วมมือในการรับประทานยาก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาและหลังพัฒนาอยู่ในระดับสูง 2) กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 51-60 ปี สถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาประถมศึกษา อาชีพส่วนใหญ่เป็นอาชีพเกษตรกรรม และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 1,000 บาท ระยะเวลาดูแลผู้ป่วย 6-10 ปี  มีระดับคะแนนความรู้และระดับค่าเฉลี่ยของทัศนคติและการดูแลเพิ่มขึ้นจากก่อนดำเนินการ เกิดระบบเฉพาะการพัฒนาการจัดการผู้ป่วยจิตเภทของเครือข่ายโรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม คือ คือ TSEECC Care ประกอบด้วย คือ ทีมที่เข้าใจตระหนักและช่วยเหลือแก้ไขอย่างยั่งยืน (Team) การมีระบบการบริการที่สอดคล้องกับความต้องการ (Service) การมีความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกและความยากลำบากของผู้อื่น (Empathy) สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการรักษา (Environment) เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง (Community) ความต่อเนื่อง (Continuity) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการศึกษาครั้งนี้คือ การมีระบบบริการที่สอดคล้องกับความต้องการ และได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย และมาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง  รวมทั้งการออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา อันจะนำไปสู่ความต่อเนื่องและยั่งยืน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1231
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61051480002.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.