Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1233
Title:  Continuing Care  Model Development of Pregnant Women with Preterm Labor  
 การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
Authors: Hathaikarn Wangkool
หทัยกาญจน์ หวังกูล
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
แนวปฏิบัติ
การดูแลอย่างต่อเนื่อง
Preterm labor
Guideline
Continuing care
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aimed to develop the practiced guideline for continuing care of pregnant women with preterm labor pain in Fort Sunpasitthiprasong Hospital Warin Chamrap District Ubon Ratchathani Province. The participants were 9 pregnant women with gestational age 28 to 36 weeks. and 17 persons of guideline teamwork. Data collection used questionnaires, discharge, and home visit plan, and knowledge assessment form. data were analyzed using descriptive statistics and qualitative data used content analysis. The results after using a new guideline showed all subjects received assessment for preterm labor pain. Guideline service included the immediate medical care, referring home visit and follow-up call. All pregnant women increased the knowledge to a good level. There was not a readmission and a preterm delivery in those women. The impacts of the continuing care for premature labor pain consisted of a clear guideline, a knowledge assessment and a monitoring system.  
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลต่อเนื่องสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่มานอนยับยั้งการคลอดที่ห้องคลอด โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ถึง 36 สัปดาห์ 6 วัน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 9 คน และกลุ่มพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแล 17 คน เก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม แบบการวางแผนจำหน่ายและติดตามเยี่ยมบ้าน และแบบประเมินความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยหลังการใช้แนวปฏิบัติพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกรายได้รับการประเมินภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การให้บริการด้านการตรวจรักษาที่รวดเร็ว การส่งต่อเยี่ยมบ้าน และการโทรติดตามเยี่ยมจนกว่าจะคลอด ผลจากการให้ความรู้เรื่องการคลอดก่อนกำหนด พบว่า สตรีตั้งครรภ์มีความรู้เพิ่มขึ้น เป็นระดับดีทั้ง 9 ราย (ร้อยละ 100) ไม่มีการกลับมารักษาซ้ำ และไม่พบภาวะคลอดก่อนกำหนด ปัจจัยแห่งความสำเร็จของแนวปฏิบัติการดูแลต่อเนื่อง คือ การมีแนวทางการรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ชัดเจน มีการประเมินความรู้สตรีตั้งครรภ์ และการมีระบบการติดตามประเมินผล และการส่งต่อข้อมูลที่ดี
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1233
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61051480007.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.