Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1235
Title: Pharmaceutical Care System for Acute Upper Respiratory Tract Infection and Acute Bronchitis Patients Care to Promote Rational Use of Antibiotic in Nachaluai hospital, Nachaluai District, Ubonratchathani Province
การพัฒนาระบบบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะสมเหตุผล โรงพยาบาลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Parinya Somchan
ปริญญา สมจันทร์
Songkhamchai Leethongdissakul
สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การบริบาลทางเภสัชกรรม
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจช่วงบน
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
ยาปฏิชีวนะ
การใช้ยาสมเหตุผล
Pharmaceutical care
Upper respiratory tract infection
Acute bronchitis
Antibiotic
Rational drug use
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action aimed to explore a pharmaceutical care model for rational antibiotic use in upper respiratory tract infections and acute bronchitis patients in Na Chaluai Hospital, Ubon Ratchathani province. The 30 participants were included to participate in pharmaceutical care model development with 250 upper respiratory tract infection patients. The created quantitative questionnaire was used to data collection with expertise’s recommendation. Data were analyzed by using descriptive statistics and inferential statistics such Paired –sample t-test, Chi-square test. Qualitative data were collected by interviewing and observing with records and analyses by content analysis technique. The results showed that the steps in this development consisted of 8 steps which were 1) study the context 2) the appointment of the working group 3) data collection and analysis 4) planning 5) implementation 6) Observing and monitoring 7) Evaluation and 8) the lessons learned. It was found that significantly in increasing in participation in persons involved in pharmaceutical care model. There was a significantly increasing knowledge and behavior of antibiotics usage and there was significantly increasing the average score of quality of life in upper respiratory tract infection patients. In summary, the key success factors comprised of announcing the antibiotic use guideline, interactive monitoring system in antibiotic prescribing, encouraging knowledge of antibiotic usage in their patients and the use of herbal medicine as a treatment option.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้เพื่อพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ของโรงพยาบาลนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี ทำการศึกษาจากกลุ่มผู้ป่วย จำนวน 250 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวิจัย จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ แบบประเมินคุณภาพชีวิต และแบบประเมินปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาสำหรับผู้ป่วย แบบประเมินระดับการมีส่วนร่วมและแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการประชุมแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนาระบบครั้งนี้มี 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาบริบทพื้นที่ 2) การแต่งตั้งคณะทำงาน 3) การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ 4) การวางแผนงาน 5) การดำเนินการตามแผน 6) การสังเกตผลและติดตามผล 7) การประเมินผล และ 8) การถอดบทเรียน ซึ่งหลังการพัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 70.8) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะและคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยลดลงจากร้อยละ 18.8 เป็นร้อยละ 11.7 และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบมีคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมและคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจที่มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการศึกษานี้ คือ การร่วมกันกำหนดแนวทางการรักษาที่ชัดเจน ระบบกำกับติดตามที่ใกล้ชิดและเป็นปัจจุบัน การจัดการความรู้ที่ถูกต้องในผู้ป่วย และการใช้ยาสมุนไพรที่เป็นทางเลือกในการรักษา
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1235
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61051480015.pdf6.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.