Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/123
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPorncharat Saiyuthen
dc.contributorพรชรัฐ สายยุทธth
dc.contributor.advisorKallaya Harnpicharnchaien
dc.contributor.advisorกัลยา หาญพิชาญชัยth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Public Healthen
dc.date.accessioned2019-08-19T03:02:06Z-
dc.date.available2019-08-19T03:02:06Z-
dc.date.issued10/5/2019
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/123-
dc.descriptionMaster of Public Health (M.P.H.)en
dc.descriptionสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)th
dc.description.abstractBioaerosal in hospitals can cause infections from people to people through the respiratory system and opportunistic infections that were normally not contagious unless the person was in a weak condition. Contact of infectious diseases in the hospital was easy. Nosocomial infection were one of the major problems in the health systems of all countries around the world, including Thailand. This research studied the amount of microorganisms and indoor air quality contaminated in the atmosphere at various points of the hospital. The objective was to study the amount of microorganisms and indoor air quality in the hospital and to study the relationship between the amount of microorganisms and indoor air quality. This research was a cross-sectional analytical study. A sample was the outpatient department, inpatient department, emergency room, tuberculosis clinic, and the office of Nakornping hospital, Chiangmai. Use Single Stage Impactor and Indoor Air Quality Monitor tools. Data analyzed using descriptive statistics and Pearson correlation coefficient. The study indicated that the highest amount of bacteria was the emergency room. with an average of 614.69 CFU/m3 which does not pass the standard criteria to the Guide lines for Good Indoor Air Quality (1996) by Institute of Environmental Epidemiology Ministry of the Environment Singapore set the amount of Bioaerosal to not exceed 500 CFU/m3. During the morning, the amount of bacteria is higher than the afternoon. Monday was the day when bacteria were found more than Wednesday and Friday. The position that found the highest bacteria amount was air inlet position. The highest amount of fungus was found in the outpatient department with an average of 650.06 CFU/m3 which does not pass the standard criteria. During the morning, the amount of fungus was higher than the afternoon. Wednesday was the day that the fungus is found more than Monday and Friday. The position that found the highest bacteria amount was air inlet position. Indoor air quality, Temperature was negative correlated with the low level of bacteria. (r = -0.291, p-value < 0.05) Carbon dioxide was positive correlated with the medium level of bacteria. (r = 0.353, p-value < 0.05) Relative humidity and Oxygen were positive correlated with the low level of bacteria  (r = 0.178, 0.155 respectively, p-value < 0.05) Relative humidity was positive correlated with the medium level of fungus. (r = 0.465, p-value < 0.05) Oxygen, Carbon dioxide, Temperatures were negative correlated with the low level of fungus. (r = -0.234, -0.146, -0.107 respectively, p-value < 0.05) It was recommended that a change in the working environment. Especially in the areas of indoor air quality with supervision of indoor cleanliness, ventilation. There is periodic monitoring of microbial counts and indoor air quality in hospital, along with collecting dust samples in the air to prevent further pathogens in hospitals.en
dc.description.abstractจุลินทรีย์ในอากาศในโรงพยาบาลนั้นสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อทั้งจากเชื้อที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนทางระบบทางเดินหายใจและเชื้อฉวยโอกาสที่ปกติจะไม่ติดต่อเว้นแต่บุคคลจะอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ การติดต่อของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลเกิดขึ้นได้ง่าย โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นปัญหาสำคัญอันหนึ่งในระบบสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย วิจัยนี้จึงทำการตรวจวิเคราะห์ศึกษาปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์และคุณภาพอากาศในอาคารที่ปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศในจุดต่างๆ ของโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณจุลินทรีย์และคุณภาพอากาศในโรงพยาบาล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์กับคุณภาพอากาศในอาคาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytical study) กลุ่มตัวอย่างคือ หอผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วยใน ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน คลินิกวัณโรค และห้องทำงานของโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยเครื่องมือ Single Stage Impactor และ Indoor Air Quality Monitor วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิความสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณแบคทีเรียสูงที่สุด คือ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 614.69 CFU/m3 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตาม Guide lines for Good Indoor Air Quality in Office Premises (1996) โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศสิงคโปร์ กำหนดให้ปริมาณจุลินทรีย์ในบรรยากาศไว้ไม่เกิน 500 CFU/m3 ช่วงเวลาเช้ามีปริมาณแบคทีเรียสูงกว่าช่วงบ่าย วันจันทร์เป็นวันที่พบปริมาณแบคทีเรียมากกว่าวันพุธและวันศุกร์ ตําแหน่งที่พบปริมาณแบคทีเรียสูงสุดคือ ตําแหน่งช่องทางอากาศ ส่วนปริมาณเชื้อราพบสูงที่สุด คือ หอผู้ป่วยนอก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 650.06 CFU/m3 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และช่วงเวลาเช้ามีปริมาณเชื้อราสูงกว่าช่วงบ่าย วันพุธเป็นวันที่พบปริมาณเชื้อรามากกว่าวันจันทร์และวันศุกร์ ตําแหน่งที่พบปริมาณแบคทีเรียสูงสุดคือ ตําแหน่งช่องทางอากาศ ส่วนคุณภาพอากาศในอาคาร ปริมาณแบคทีเรียมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิอากาศแบบแปรผกผันในระดับต่ำ (r = -0.291, p-value < 0.05) ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มีความสัมพันธ์แบบแปรตามกันกับปริมาณแบคทีเรียในระดับปานกลาง (r = 0.353, p-value < 0.05) ความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณออกซิเจนมีความสัมพันธ์กับปริมาณแบคทีเรียที่พบแบบแปรตามกันในระดับต่ำ r = 0.178 และ 0.155 , p-value < 0.05 ตามลำดับ ปริมาณเชื้อรามีความสัมพันธ์กับความชื้นสัมพัทธ์แบบแปรตามกันในระดับปานกลาง (r = 0.465, p-value < 0.05) ส่วนคุณภาพอากาศในพารามิเตอร์อื่นๆ ได้แก่ อุณหภูมิ ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ มีความสัมพันธ์กับปริมาณเชื้อราที่พบในระดับต่ำแต่ในรูปแบบแปรผกผันกัน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เท่ากับ r = -0.234, -0.195, และ -0.107, p-value < 0.05 ตามลําดับ จากการศึกษาพบว่าปริมาณเชื้อราและแบคทีเรียมีปริมาณเกินมาตรฐานในหลายจุด ควรมีปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพอากาศในอาคารโดยมีการกำกับ ดูแลเรื่องความสะอาดภายในอาคาร ระบบระบายอากาศ มีการตรวจเฝ้าระวังปริมาณเชื้อจุลินทรีย์และคุณภาพอากาศในอาคารของโรงพยาบาลเป็นระยะควบคู่กับการเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองในอากาศ เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อโรคในโรงพยาบาลต่อไปth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศth
dc.subjectคุณภาพอากาศในอาคารth
dc.subjectBioaerosalen
dc.subjectIndoor Air Qualityen
dc.subject.classificationEnvironmental Scienceen
dc.titleQuantity of Bioaerosol and Indoor Air Quality of Hospital : Case study of Nakornping hospital, Chiang Maien
dc.titleปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศและคุณภาพอากาศในอาคารของโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011480005.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.