Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/124
Title: Effects of Health Belief Model with Exercising Program on Fall Prevention Among the Elderly in Khok Klang Subdistrict, Nonsaad District, Udonthani Province
ผลของการใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุตำบลโคกกลาง อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี
Authors: Songvut Punlomso
ทรงวุฒิ พันหล่อมโส
Kukiat Tudpor
กู้เกียรติ ทุดปอ
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ภาวะหกล้ม
การยืดกล้ามเนื้อ
การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การฝึกการทรงตัว
Fall
Stretching
Strengthening
Postural balance
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This quasi-experimental research was aimed to study effects of health belief model with exercising program on fall prevention among the elderly in Khokklang subdistrict, Nonsaad district, Udonthani province. Seventy two participants were divided into 2 groups: 36 participants in the experimental group and 36 participants in the control group. The control group received routine care (health annual checkup, regular exercise, and annual home visit). The experimental group received 12 weeks of activities consisting of: 1) fall prevention workshop; 2) fall experience sharing; 3) exercise program for stretching, strengthening and postural balance; and 4) home visits. Data were collected by: 1) questionnaire to collect general information, knowledge, perception, behavior and practice; 2) muscle strength were determined by Leg and Back dynamometer; and 3) postural balance was assessed by Berg balance test. Descriptive statistics paired and independent t-test were used to analyze the data.    The results showed that before the experiment, the experimental group and the control group with average scores on knowledge, perception, behavior and practice, muscle strength, and postural balance not different. After the experiment, the experimental group had higher mean scores significantly of all items than respective baselines, and also higher before the experiment and control group (P<0.05) In conclusion the exercising program of stretching, strengthening postural balance, health education and home visits can promote back and leg stretching, and postural balance control ability of the elderly. These are important for fall prevention in the elderly in community.
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลโคกกลาง อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 72 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 36 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติ ได้แก่การตรวจสุขภาพประจำปี การให้ความรู้ การออกกำลังกายแบบปกติ การเยี่ยมบ้านประจำปี ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมที่จัดขึ้นเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1) กิจกรรมการอบรมให้ความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับการหกล้ม 2) กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ 3) กิจกรรมการฝึกปฏิบัติออกกำลังกายด้วยการฝึกยืดกล้ามเนื้อ การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และฝึกการทรงตัว และ 4) กิจกรรมการออกติดตามเยี่ยมบ้าน ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลทั่วไป ความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัว 2) ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและหลังโดยเครื่องวัดแรงเหยียดขาและหลัง (Leg and Back dynamometer) และ 3) ทดสอบความสามารถในการทรงตัวด้วยวิธี Berg balance test สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านความรู้ การรับรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และความสามารถในการทรง ไม่แตกต่างกัน ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.05) โดยสรุป โปรแกรมการออกกำลังกายโดยวิธีการฝึกยืดกล้ามเนื้อ การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการฝึกการทรงตัว ร่วมกับกิจกรรม การให้สุขศึกษา และการติดตามเยี่ยมบ้าน เป็นการส่งเสริมสุขภาพที่มีความเหมาะสม และสำคัญในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/124
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57031480003.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.