Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1265
Title: Development of Handwoven Pa Kao Ma Patterns to Enhance Community Economy of Roi Et
การพัฒนาลวดลายผ้าขาวม้าทอมือเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Thanida Laemchalad
ธนิดา แหลมฉลาด
Kosit  Phaengsoi
โฆสิต แพงสร้อย
Mahasarakham University. The Faculty of Fine and Applied Arts
Keywords: ผ้าขาวม้าทอมือ
เศรษฐกิจของชุมชน
Handwoven Pa Kao Ma
The Community Economy
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research, These are three objective in this research set: 1) to study the knowledge and history of handwoven Pa Kao Ma in Roi Et communities 2) to study the problems of handwoven Pa Kao Ma patterns in Roi Et communities and 3) to develop new handwoven Pa Kao Ma patterns to enhance the community economy of Roi Et. This research is a qualitative research. The samples are four Pa Kao Ma weaving communities in Roi Et, consisting of Ban Nong Khwao and Ban Non Samran in Mueang District, and Ban Kwang Yai and Ban Wai Lum in Thung Khao Luang District. Document and field data were collected through surveys, interviews, observations, group discussions and workshops. The findings can be summarized as follows:      1) Roi Et has been producing handwoven Pa Kao Ma for a long time. At present, there are more than seventy communities in every district doing such activity. The five ethnic groups that are producing handwoven Pa Kao Ma in Roi Et are the Thai-Isan ethnic group, the Thai-Lao ethnic group, the Thai-Khmer ethnic group, the Thai Kui ethnic group and the Phu Thai ethnic group. The handwoven Pa Kao Ma of Roi Et found in four different patterns which are (1) large checkered pattern, (2) small checkered pattern, (3) stripe pattern, and (4) small checkered and stripe pattern. Handwoven Pa Kao Ma is still a part of Roi Et’s way of life, being an important piece of fabric cloth in various ceremonies, ranging from birth, ordination, marriage, and death. It is a multifunctional item used in everyday life.          2) Some problems concerning the current handwoven Pa Kao Ma patterns in Roi Et are that (1) the pattern looks the same as or similar to many produced by other communities and no new patterns are developed, (2) the pattern does not represent the local identities which indicate self, community or ethnicity, (3) some weavers are not able to reweave intricate Khit patterns done on their ancestral Pa Kao Ma, (4) the pattern could not attract the younger generation to be interested in handwoven Pa Kao Ma, (5) the pattern is gradually disappearing, along with the senior weavers who have no successors, and (6) the communities lack  knowledge or new ideas in changing the way of thinking for the development of new patterns.      3) The development of handwoven Pa Kao Ma patterns to enhance community economy of Roi Et was achieved through collaborative work processes among members of the four communities, experts on fabric pattern design, and the researcher acting as a coordinator. The research outputs are eleven new handwoven Pa Kao Ma patterns that can be further developed.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้และความเป็นมาผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด 2) ศึกษาสภาพปัญหาลวดลายผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) พัฒนาลวดลายผ้าขาวม้าทอมือเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นชุมชนทอผ้าขาวม้าจังหวัดร้อยเอ็ด 4 ชุมชน ได้แก่ บ้านหนองเขวา ตำบลแคนใหญ่ อำเภอเมือง บ้านโนนสำราญ ตำบลเมืองทอง อำเภอเมือง บ้านขว้างใหญ่และบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามผ่านการสำรวจ การสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้      1) ร้อยเอ็ดเป็นแหล่งผลิตผ้าขาวม้าทอมือมายาวนาน ในปัจจุบันมีกว่า 70 ชุมชนในทุกอำเภอ กลุ่มชาติพันธุ์ 5 กลุ่มที่ทอผ้าขาวม้าในจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ กลุ่มไทยอีสาน กลุ่มไทยลาว กลุ่มไทยเขมร กลุ่มไทยกูย (ส่วย) และกลุ่มผู้ไท ลวดลายผ้าขาวม้าที่พบมี 4 ลักษณะ คือ ผ้าขาวม้าตาใหญ่ ผ้าขาวม้าตาเล็ก ผ้าขาวม้าไส้ปลาไหล และผ้าขาวม้าตาหมู่ ผ้าขาวม้าทอมือยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนร้อยเอ็ด เป็นผ้าสำคัญในพิธีการต่าง ๆ ตั้งแต่การเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย และเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน       2) สภาพปัญหาลวดลายผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ดมีหลายประการ ได้แก่ (1) ลวดลายเดิมคล้ายคลึงกับผ้าขาวม้าที่ผลิตจากแหล่งอื่น ไม่มีการพัฒนาลวดลายใหม่ (2) ลวดลายไม่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ซึ่งบ่งบอกตัวตน ชุมชน หรือชาติพันธุ์ (3) ช่างทอไม่สามารถทอลวดลายขิดที่ซับซ้อนบนผ้าขาวม้าเก่าของบรรพบุรุษได้ (4) ลวดลายเดิมไม่สามารถดึงกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ให้มาสนใจผ้าขาวม้าทอมือได้ (5) ลวดลายผ้าขาวม้ากำลังหายไปพร้อมช่างทออาวุโสที่ขาดผู้สืบทอด และ (6) ชุมชนขาดความรู้หรือแนวคิดใหม่ในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อการพัฒนาลวดลายใหม่ ๆ      3) การพัฒนาลวดลายผ้าขาวม้าทอมือเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด ทำสำเร็จได้ด้วยกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิกภายในชุมชนและนอกชุมชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลวดลายผ้า และคนกลางคือผู้วิจัย ผลผลิตจากการวิจัยครั้งนี้คือผ้าขาวม้าทอมือรวม 11 ลวดลายใหม่ซึ่งชุมชนพื้นที่วิจัยทั้ง 4 ชุมชนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1265
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59012160001.pdf8.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.