Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1279
Title: The Relationship between Job Satisfaction and Job Efficiency of Accountants in The Public Institute Under The Office of the Higher Education Commission
ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  
Authors: Patthama Mongkolkeha
ปัทมา มงคลเคหา
Nattawut Tontiset
ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ
Mahasarakham University. Mahasarakham Business School
Keywords: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
ประสิทธิภาพการทำงาน
นักบัญชี
Job satisfaction
Job efficiency
Accountants
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The present study was conducted to investigate the relationship between the job satisfaction and the job efficiency of accountants in the public institutes under the Office of the Higher Education Commission. To do so, the researcher collected data from 217 accountants through the questionnaire administrations. After the data collection, the researcher adopted the statistics including T-test and F-test (ANOVA and MANOVA), multiple correlation analysis, simple regression analysis, and multiple regression analysis to analyze the data. The findings revealed the overall rating results of the accountants’ job satisfactions were rated as “high”. Moreover, the researcher found that their satisfactions of these topics including the relationship with the superior, the recognition, the security, and the salary were rated as “high”. However, the accountants’ satisfactions of the advancement were rated as “average”. In terms of the job efficiency, the overall rating results of each topic were high; those topics were the time, the quality, and the quantity. The different genders of the participants affected their opinions about the job satisfaction and the salary. For the differences of the statuses, they also affected their opinions about the job satisfaction in terms of the salary, the relationship with their superior, and the advancement. The findings also showed that the different levels of their educations affected their opinions on the job satisfactions in terms of the recognition and the job efficiency about the time and the quality From the analysis of the relationship and the effect, the researcher found that as following. First of all, the job satisfaction about the recognition positively related and affected the job efficiency including the time, the quality, and the quantity. Secondly, the job satisfaction about  the advancement positively related and affected the job efficiency in terms of the quantity. Finally, the job satisfaction about the salary, the security, and the relationship with their superior did not positively relate to the job efficiency including the time, the quality, and the quantity. In sum, the job satisfaction positively related to the job efficiency. Therefore, the organization administrators should take the staff’s satisfactions into account, and they should give their staff some complements or prizes for those who could achieve the organizational goals. Thus, their staff would be encouraged or motivated to work. Moreover, the staff would be proud of their own jobs. So, the more the accountants are satisfied with their jobs, the more effectively they could work for their organizations.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 217 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test , F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า นักบัญชีมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านความมั่นคงในงาน และด้านเงินเดือน และอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านความก้าวหน้า  นักบัญชีมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม และเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเวลา ด้านคุณภาพ และด้านปริมาณ นักบัญชี ที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านเงินเดือน แตกต่างกัน นักบัญชี ที่มีสถานภาพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านเงินเดือน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา และด้านความก้าวหน้า แตกต่างกัน นักบัญชี ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านการได้รับการยอมรับ แตกต่างกัน นักบัญชี ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม ด้านเวลา และด้านคุณภาพ แตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า 1) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านการได้รับการยอมรับ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม ด้านเวลา ด้านคุณภาพ และด้านปริมาณ 2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านความก้าวหน้า มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงาน ด้านปริมาณ 3) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านเงินเดือน ด้านความมั่นคงในงาน และ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ไม่มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม ด้านเวลา ด้านคุณภาพ และด้านปริมาณ โดยสรุป ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงาน ดังนั้นผู้บริหารควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการสร้างความพึงพอใจในปฏิบัติงานของนักบัญชี โดยให้ความสำคัญกับการยกย่องชมเชย แสดงความชื่นชมยินดีในผลงานหรือมอบรางวัลเชิงประจักษ์ให้กับนักบัญชีที่ปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายขององค์กร เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจและเป็นแรงจูงใจให้นักบัญชีปฏิบัติงานอย่างเต็มใจและเต็มความรู้ความสามารถ และส่งเสริมให้นักบัญชีมีความก้าวหน้าทางวิชาชีพเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในอาชีพ เมื่อนักบัญชีมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแล้วจะส่งผลให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อเกิดให้ประโยชน์ต่อองค์กรสูงสุด
Description: Master of Accountancy (M.Acc.)
บัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1279
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010980006.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.