Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/128
Title: The Application of MORLAM Local Wisdom on Aedes – borne Disease Prevention in Chuen Chom subdistrict, Lao Dok Mai District, Mahasarakham
การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอลำต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลาย ในตำบลเหล่าดอกไม้ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Phannarai Sukmanee
พรรณราย  สุขมณี
Prachumporn Laoprasert
ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การป้องกันโรค
โรคที่เกิดจากยุงลาย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
pervention
Aedes-borne disease
local wisdom
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this quasi experimental research was to evaluate the effectiveness of the application of MORLAM local wisdom (a northeastern-style singer) on Aedes–borne disease prevention in Chuen Chom Subdistrict, Lao Dok Mai District, Mahasarakham Province. The sample was divided into two groups, consisted of experimental group and comparative group (75 people per group). The experimental group was applied by 6 activies of the MORLAM local wisdom on Aedes–borne disease prevention for 12 weeks. Pre-test and post-test were used the same instruments in both groups. The research instruments were questionnaires and HI CI and BI Aedes survey form. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent t - test  and Paired samples t - test with 0.05 level. The results showed that the experimental group’s learning outcome post-test score on knowledge, attitude, and disease protecting behavior was significantly higher than the pre-test and comparative group scores at the 0.05 level. Moreover, the average of HI, CI and BI in post-test of the experimental group were decresed. HI CI and BI were 3.99, 0 and 4.26, respectively. In conclusion, the application of MORLAM local wisdom on Aedes–borne disease prevention is using MORLAM in order to relay knowledge. The comprehensive lyrics, up-to-date, and fun rhythm bring interesting of an experimental group and stimulate learning, as a result, the knowledge of the experimental group increase including increase positive attitude as well. Besides, the experimental group can correctly practice preventing themselves from Aedes–borne disease due to the easy lyrics to remembering. In addition, the experimental group is a factor that stimulates community’s alertness and helps the community to realizes the important prevention of Aedes–borne disease through MORLAM. MORLAM is the key factor that can easily access community and conform with community way. The community will occur co-learning, properly practice, and sustainable prevention to Aedes–borne disease. So, MORLAM is determinant of health that causes changing personal behavior and can truly communicate with the community. It can create a mutual agreement in the future in order to prevent Aedes–borne disease within the community as well.
การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอลำต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลาย ในตัวแทนครัวเรือนตำบลเหล่าดอกไม้ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 75 คน โดยให้โปรแกรมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอลำต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นเวลา 12 สัปดาห์ มีกิจกรรม 6 ครั้ง แก่กลุ่มทดลอง และรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสถิติด้วยค่า Independent t – test  และค่า Paired Samples t – test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 (p<0.001) และพบว่ากลุ่มทดลองมีจำนวนลูกน้ำยุงลายลดลงจากก่อนการทดลอง ค่าเฉลี่ย HI เท่ากับ 3.99 ค่าเฉลี่ย CI เท่ากับ 0 และค่าเฉลี่ย BI เท่ากับ 4.26 โดยสรุป การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอลำในการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นการนำสื่อหมอลำมาใช้ในการถ่ายทอดความรู้โดยมีเนื้อหาที่ทันสมัยครอบคลุมและมีจังหวะทำนองที่สนุกสนานจึงทำให้กลุ่มทดลองเกิดความสนใจและเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ส่งผลให้กลุ่มทดลองมีความรู้และเจตคติที่ดีขึ้น อีกทั้งคำลำเข้าใจง่ายและง่ายต่อการจดจำทำให้กลุ่มทดลองมีการปฏิบัติตัวต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายถูกต้องและดีขึ้น นอกจากนี้กลุ่มทดลองยังเป็นตัวแปรในการกระตุ้นให้ชุมชนตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายโดยมีสื่อหมอลำเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าถึงชุมชนได้ง่ายและตรงตามความชอบของวิถีชีวิชุมชนทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ตลอดจนนำไปสู่การปฏิบัติตัวต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายที่ถูกต้องและยั่งยืนจึงถือได้ว่าสื่อหมอลำเป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลและเชื่อมโยงเข้าถึงชุมชนได้อย่างแท้จริงตลอดจนนำไปสู่การสร้างข้อตกลงร่วมกันในการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายของชุมชนในอนาคตอีกด้วย
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/128
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58011480018.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.