Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1283
Title: | Effects of Strategic Human Resource Management on Organizational Efficiency of Higher Education Institutions in Thailand ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่มีต่อประสิทธิภาพองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย |
Authors: | Phonthip Matwangsaeng พรทิพย์ มาตย์วังแสง Teerapan Ungphakorn ธีรพรรณ อึ้งภากรณ์ Mahasarakham University. Mahasarakham Business School |
Keywords: | การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ประสิทธิภาพองค์กร สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย Human Resource Management Organizational Efficiency Higher Education Institutions in Thailand |
Issue Date: | 13 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Strategic human resource management is planning on determining goals, making decisions, and operating activities related to human resource management by linking them to the organization’s strategies and policies determined accordingly and supportively to other different strategies. Strategic human resource management also emphasizes improving staff’s working capacity, increasing staff’s motivation, determining directions for human resource administration, and keeping quality staff to continuously and effectively work for the organization in order to achieve outcomes that meet the organization’s vision, missions, and goals. These are linked to one another by technology forming a system. However, the organization needs to be adaptive to changes and enthusiastic about updates and developing of corporate culture to create innovation and new changes in order to catch up with globalization. Therefore, the researcher conducted this research to study effects of strategic human resource management on organizational efficiency of higher education institutions in Thailand. Data were collected from 70 administrators of higher education institutions in Thailand. Questionnaires were used as the tools for this research. Statistics used in this research were F-test (ANOVA and MANOVA), multiple correlation analysis, simple regression analysis, and multiple regression analysis.
The research found that the administrators of the higher education institutions generally agreed with strategic human resource management opinions. In terms of its elements, each was agreed at a high level: resource information system, learning information system, human capital development, and achievement motive system. The administrators of the higher education institutions, in general, agreed with organizational efficiency opinions. In terms of its elements, each was agreed at a high level goal: achievement, resourcing system, working processes and operations, and satisfaction of participants.
According to the analysis of the relations and effects, the research findings were 1) strategic human resource management regarding learning information system, human capital development, achievement motive system was related and positively effected organizational efficiency in general, 2) strategic human resource management regarding learning information system, human capital development, achievement motive system was related and positively effected organizational efficiency in terms of goal accomplishment of the organization, 3) strategic human resource management regarding learning information system, human capital development, achievement motive system was related and positively effected organizational efficiency in terms of resourcing system, 4) strategic human resource management regarding learning information system, human capital development, achievement motive system was related and positively effected organizational efficiency in terms of working processes and operations, and 5) strategic human resource management regarding learning information system, human capital development, achievement motive system was related and positively effected organizational efficiency in terms of satisfaction of participants.
In conclusion, strategic human resource management is related and positively effected organizational efficiency of higher education institutions in Thailand. Therefore, the administrators should be aware and give importance to the development of modern electronic systems, encouraging the use of technology in the operations, searching for new knowledge. Online media and learning systems such as e-learning. Moreover, they should pay mor attention on career promotion, job securuty, freedom of thought, good working atmosphere, which creates unity among personnel in the organization. การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เป็นการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้เชื่อมโยงกลยุทธ์และนโยบายขององค์กรโดยการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรให้สอดคล้องและสนับสนุนกับกลยุทธ์ด้านอื่นๆ มีการมุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร มีการพัฒนาจูงใจ และกำหนดทิศทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีการรักษาบุคลากรที่องค์กรต้องการให้มุ่งมั่นกับการปฏิบัติงานให้กับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อผลักดันให้ผลการดำเนินงานบรรลุวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายที่องค์กำหนดไว้โดยการเชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกันด้วยเทคโนโลยีซึ่งองค์กรของรัฐต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ต้องมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาองค์กรให้ทันสมัย และพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดนวัตกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เพื่อให้ทันกับยุคโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิจัย ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่มีต่อประสิทธิภาพองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 70 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ด้านระบบแรงจูงใจที่เน้นผลงาน และผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับประสิทธิภาพองค์กร โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ ด้านการจัดหาและใช้ทรัพยากร ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านความพอใจของทุกฝ่าย จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า 1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ด้านระบบแรงจูงใจที่เน้นผลงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพองค์กรโดยรวม 2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ด้านระบบแรงจูงใจที่เน้นผลงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพองค์กรด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ 3) การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ด้านระบบแรงจูงใจที่เน้นผลงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพองค์กรด้านการจัดหาและใช้ทรัพยากร 4) การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ด้านระบบแรงจูงใจที่เน้นผลงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพองค์กรด้านกระบวนการปฏิบัติงาน 5) การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ด้านระบบแรงจูงใจที่เน้นผลงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพองค์กรด้านความพอใจของทุกฝ่าย โดยสรุป การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ดังนั้น ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน มีการแสวงหาความรู้ที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ผ่านสื่อออนไลน์ และการเรียนรู้ระบบการทำงาน เช่น e-learning และควรให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ความมั่นคงในสายอาชีพ ให้อิสระทางความคิด สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ มีการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานก่อให้เกิดความสามัคคีของบุคลกรในองค์กร |
Description: | Master of Management (M.M.) การจัดการมหาบัณฑิต (กจ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1283 |
Appears in Collections: | Mahasarakham Business School |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58010986002.pdf | 2.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.